Google
 

01 พฤษภาคม 2553

ล่องโขงสู่หลวงพระบาง ๖ น้ำตกกวางสี และบ้านผานม

ล่องโขงสู่หลวงพระบาง ๖ น้ำตกกวางสี และบ้านผานม

๑๕ เมษายน ๒๕๕๓

วันที่ ๓ ของการอยู่ในหลวงพระบางไปพร้อมกับทัวร์สบาย ๆ สไตล์วิทูรย์ ก็สบายจริงๆ ครับ ไม่เร่งรัดเวลา ใครจะอยู่ใครจะไป อะไรยังไงก็ตามใจ ใครจะแยกเที่ยวหรือรวมเที่ยวก็สุดแท้แต่ใจ

อย่างวันนี้เรามีกำหนดไป เที่ยว “น้ำตกกวางสี” ที่สวยที่สุดของหลวงพระบาง อยู่ห่างออกไปราว ๒๕ กม. เราออกเดินทางกันตั้ง ๙ โมง เช้า

ความจริงวันนี้เป็นวัน “พญาวัน” ชาวไทยเหนือถือเป็นวันที่สำคัญที่สุด ต้องรักษาศีล ต้องทำจิตใจให้แจ่มใส ห้ามพูดไม่ดี ห้ามทำใจขุ่นมัว โกรธแค้น ดุด่า เหมือนเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ ด้วยชีวิตใหม่อย่างสดใส ซึ่งแม่ก็เคยบอกเสมอมาตั้งแต่เด็ก ๆ ดังนั้น วันนี้เราจึงต้องไปตักบาตรข้าวเหนียวกันอีกครั้งตามประเพณีของชาว ไทยอย่างเรา แต่มีไปแค่ ๒ คน คือ ผมกับป้อม เราเดินไปที่หน้าวัดแสน แล้วไปหาซื้อ “ข้าวเหนียว” ชุดใส่บาตร เดี๋ยวนี้เขาทันสมัย มีบริการนักท่องเที่ยวด้วย ชุดละ ซาวพันกีบ (น่าจะจำไม่ผิด ราว ๘๐ บาท) ก็มีข้าวเหนียวกระติบเล็ก ๆ กับข้าวต้มมัด ใส่เสร็จแล้วก็เดินไปเที่ยวตลาด ที่เดิม แล้วเดินกลับ

ส่วนวันที่ ๑๓ เมษายน นั้น คือวัน “สังขารล่อง” ตามประเพณีแล้ว ทุกบ้านจะทำความสะอาดบ้าน ซักผ้า ชำระล้างสิ่งสกปรกต่าง ๆ ให้หมดไป

เมื่อได้เวลาสาย ๆ เราก็ออกเดินทางไปน้ำตก ซึ่งใช้เวลาราว ๓๐ นาที ไปถึงเวลา ๙.๓๐ น. จึงเดินเข้าไปยังน้ำตก ตรงทางเข้ามีตลาดร้านรวงมากมาย เมื่อเดินเข้าไปไม่ไกล เจอกรงหมีควาย ซึ่งมีอยู่หลายตัว คงเป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว แม้มันจะไม่น่ารักเหมือนหมีแพนด้า แต่ก็ควรอนุรักษ์

น้ำตก กวางสี เป็นน้ำตกหินปูน มีหลายระดับ แต่มีแอ่งน้ำให้อาบเล่นอย่างสบาย มีทั้งระดับน้ำตกธรรมดา และน้ำตกสูงจากผา ซึ่งแปลกมาก หากเป็นน้ำตกทั่วไปจะหาความเป็นธรรมชาติของน้ำตกแบบนี้ได้ยาก เพราะตกมาจากระดับสูง และระดับกลาง และสู่ระดับล่าง อย่างสวยงาม เหมือนน้ำตกเอรวัณ จังหวัดกาญจนบุรี แต่น้ำตกกวางสีเป็นการผสมระหว่างน้ำ ตกเอรวัณกับนำตกทีลอซู ของบ้านเรา

แม้ว่ากล้องผมใช้การไม่ได้ แต่ผมก็ยังมีไอโฟน ถ่ายรูปน้ำตกแก้ขัดไปก่อน โดยปีนขึ้นไปจนถึงน้ำตกชั้นบน แต่ไม่มีทีมงานของเราตามมาเลย ดูเวลาก็ชักจะไม่พอแล้ว น้ำตกสวยและเย็นมาก อยากกระโดนเล่นจัง ด้านบนทางเดินเริ่มลำบาง เห็นชาวลาววันรุ่นปีนเลาะหน้าผา ตรงน้ำตกขึ้นไป แต่ผมคงไปไม่ได้แล้ว ต้องรีบกลับ

ชาวลาวก็ทยอยกันมาเที่ยว เป็นจำนวนมาก เสียดาย ที่เรามีเวลาอยู่ที่นี่เพียงชั่วโมงเดียว นี่เป็นเหตุที่ผมเคืองทีมงาน ว่าการมาเที่ยวธรรมชาติ ควรจะให้เวลาเยอะ ๆ และให้อยู่กับธรรมชาตินาน ๆ แต่วันนี้เคืองไม่ได้ เพราะเป็นวันพญาวัน ความจริงถ้าเราออกมาเช้าหน่อย ก็อาจจะอยู่ที่ยี่ได้ ๒ ชั่วโมง เลยไม่ทันได้เล่นน้ำก็ต้องกลับเสียแล้ว เนื่องจากต้องไปชมขบวนแห่นางสังขา ร และไปหมู่บ้าน ผานม ชมและซื้อผลิตภันฑ์ผ้าทอที่ขึ้นชื่อของหลวงพระ บาง

ขากลับเรามาแวะที่วัดพระ บาท ซึ่งมีรอยพระพุทธบาทตรงฝั่งน้ำโขง และยามนี้น้ำแห้ง จึงเห็นคนมาร่อนทองอยู่ตามแม่น้ำ หลังจากนั้นเราก็เดินทางไปรับประทาน อาหารเที่ยงที่ร้าน “แคมคาน” คำว่า “แคม” ก็แปลว่า ริม ส่วนคำว่า “คาน” เป็นชื่อของแม่น้ำ ชื่อร้านนี้แปลว่า ริมคาน นั่นเองครับ แต่ร้านอาหาร “ขึ้นคาน” ไม่มีปรากฎในเมืองหลวงพระบางแต่อย่างใด เพราะแค่ริม ๆ นี่ก็จะแย่อยู่แล้ว

เมื่อรับประทาอาหารเที่ยงที่ร้าน “แคมคาน” แล้วเราก็เดินทางไปยังหมู่บ้านผานม ซึ่งเป็นหมู่บ้านหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดในหลวงพระบาง และเป็นแหล่งผลิตแห่งใหญ่อีกด้วย มีทั้งผ้าฝ้ายทอมือ ผ้าไหมมัดหมี่ ซึ่ง แปรรูปเป็นอย่างอื่นก็มาก

ในวันนั้นเรากะไปซื้อที่ ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านของหมู่บ้านผานม แต่ร้านเขา ปิด เพราะวันนี้เป็นวันฉลองปีใหม่ของหมู่บ้านชาวลื้อ เราจึงกลับรถนำขบวนมาจอดที่สถานที่จัดงาน ซึ่งน่าจะเป็นโรงเรียน เพราะมีสนามกว้าง และมีการออกร้านเต็มไปหมด แต่ไม่ค่อยมีคนเลย เราจึงเป็นแขกกลุ่มใหญ่ นักช๊อปจากเมืองไทย

ตรงประตูทางเข้า เขาจะมีการทำบุญ ที่ลาว เขาจะติดโบว์ให้สำหรับผู้ที่บริจาคเงิน คล้าย ๆ ทำบุญทอดผ้าป่า เอาเงินใส่ขัน ก็ว่ากันไปครับ

ในแต่ละร้านมีของวางขาย มากมาย ให้เราได้เลือกซื้อกันตามสบาย อากาศร้อนมาก แต่คนไทยเคยหวั่นกันที่ไหนละครับเรื่องซื้อของจับจ่าย เลยได้ผ้าไหมมาสองชุด สำหรับสองแม่ คือแม่ยายและแม่ตัวเอง สนนราคาเพียง ๘๐๐ บาทต่อผืนเท่านั้นเอง เห็นแต่ละคนจับจ่ายกันพอสมควร บางคนซื้อเหล้าอุมาด้วย

ข้างทางเราจะเห็นป้าย ร้าน “ตาบยาง” ก็คือ ปะยางบ้านเรานั่นเอง พี่โสเล่าว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งมาเที่ยวลาว เห็นป้ายแวบ ๆ ประจวบกับกำลงหิว เลยบอกให้รถกลับไปข้างหลัง มีร้านตับย่างอยู่ เมื่อไปถึง เป็นป้าย “ตาบยาง” ต่างหาก

ภาษาลาวนี่นะครับคิดไป แล้วมันก็น่าขัน สมัยที่ ทาทายัง ดังใหม่ ๆ ชาวลาวเขาก็ฮิตเหมือนกัน แต่ภาษาลาว เรียก “ทาทายัง สาวน้อยมหัศจรรย์” ของเราว่า “ป้าย ป้าย เหลือ สาวน้อยเป็นต๋างึ๊ด” งงไหมครับ คำว่า “ป้าย” ก็คือ ทา เช่น เอาสีมาป้าย คำว่า เหลือ ก็คือ “ยัง” ส่วนคำสุดท้ายคือ “งึ๊ด” นี่แปลยาก แปลว่า แปลก พิศวง อัศจรรย์ อะไรทำนองนี้ หรือจะแปลว่าหาคำอธิบายไม่ถูก เช่น สมมุติว่า “ช้างอยู่ในรูปู” มันเข้าไปได้ยังไง “งึ๊ด” จริง ๆ หรือ ทางเหนือเรียก “งืด” ก็ได้

จับจ่ายใช้สอยกันพอ ประมาณ ได้ของฝากมาก็เยอะพอควร เก็บเล็กผสมน้อย จากตลาดมืด มาสู่ตลาดสว่าง ซื้อกันตามกำลงทรัพย์ และตามความพอใจกันเลยทีเดียว งานนี้ แม้จะอ้างชื่อ “อ้ายวิทูรย์” ก็ไม่ได้ส่วนลดแต่อย่างใด

แล้วเราก็กลับมา เพื่อที่จะดูขบวนแห่ นางสังขาร ซึ่งได้เล่าแล้วในตอนที่ ๔ เราไปไม่ทัน





ไม่มีความคิดเห็น: