Google
 

01 พฤษภาคม 2553

6 ทศวรรษ...พระคู่ขวัญแห่งแผ่น ดิน


แสตมป์ ครบ 50ปี ราชาภิเษกสมรส ปี2543



ที่ระลึก 60 ปี ราชาภิเษกสมรส


พระบรมสาทิส ลักษณ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
4 ดวง/แผ่น
ชนิดราคา 15 บาท สองแบบ
จำนวนพิมพ์ หนึ่งล้านชุด
วันแรกจำหน่าย 28 เมษายน 2553
แผ่นตราไปรษณียากรที่ ระลึก ราคาแผ่นละ 60 บาท
ซองวันแรกจำหน่าย ราคาซองละ 40 บาท

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น




พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ขณะทรงเป็นพระคู่หมั้น ตรัสทักทายเสด็จในกรม (ขวาสุด) ไม่นานก่อนงานราชาภิเษกสมรส

เสด็จในกรม เสด็จไปทรงรับพระคู่หมั้นวันที่กลับถึง ประเทศไทย พ.ศ.2493


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ส่วนพระองค์มายังวังวิทยุ ภายหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ทรงเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณ รุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์

ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต

นับจากวันที่ 28 เม.ย.2493 จวบจนวันนี้ ยาวนานมาถึง 60 ปีแล้ว ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงครองคู่พระบารมี สถิตย์เป็นพระมิ่งขวัญของปวงชนชาว ไทย

เรื่องราวความรักของทั้งสองพระองค์ เป็นที่ทราบดีของปวงชนชาวไทย รวมไปถึงผู้ที่ได้มีโอกาสรับทราบเรื่อง ราวเกี่ยวกับพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสของทั้งสองพระองค์มาจนถึงทุก วันนี้

ย้อนกลับไปในวันมหาประชาปีติเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 วันนั้นท้องฟ้าแจ่มใสเหมือนจะประกาศก้องให้คนไทยทั้ง แผ่นดิน ได้ร่วมชื่นชมในความรักของพระมิ่งขวัญทั้ง 2 พระองค์

ใน ช่วงเช้าเมื่อได้เวลาพระฤกษ์เวลา 09.30 น.พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสได้เริ่ม ขึ้น ณ พระตำหนักของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวังสระปทุม เริ่มจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย ได้ทูลเกล้าฯ ถวายสมุดทะเบียนสมรส

พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย จากนั้นพระคู่หมั้น หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ลงนามในสมุดทะเบียนสมรส โดยมี สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระราชปิตุลา และ จอม พล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ลงพระนามและลงนามเป็นราชสักขีพยาน พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในครั้งนั้น นับว่าเป็นครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์ ไทยในยุคประชาธิปไตย ได้ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่นเดียวกับประชาชนชาวไทยทั่วไป

จากนั้นทั้ง 2 พระองค์ทรงเข้าเฝ้าสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เพื่อทรงประกอบพระราชพิธีตามโบราณราชประเพณี จากนั้นทรงให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการลงนามถวายพระพรเฉพาะ พระพักตร์ ทรงรับของทูลพระขวัญ แล้วมีพระมหากรุณาธิคุณพระ ราชทานของที่ระลึกตอบแทนเป็นหีบเงินขนาดเล็ก มีตราจักรีคล้องกันอยู่เบื้องกลางระหว่างอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ภ.อ.และอักษร พระนามาภิไธยย่อ ส.ก.

ในวันเดียวกัน ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ พระอัครมเหสี เป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ และเสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณในพระบรมมหาราชวัง ทั้ง 2 พระองค์ประทับคู่กันเหนือพระราชอาสน์ พระราชทานพระราชวโรกาสให้พระ บรมวงศานุวงศ์เฝ้าฯ โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร (ต่อ มาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร) กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลแทนพระ บรมวงศานุวงศ์ มีความตอนหนึ่งแสดงความปีติโสมนัสในวันราชาภิเษกสมรส ในการที่ทรงเลือกสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์มาเป็นพระอัครมเหสี ความว่า

“...ได้ทรงพิจารณาเลือกสรรประสบผู้ที่สมควร แก่การสนองพระยุคลบาท ร่วมทุกข์ร่วมสุขแบ่งเบาพระภาระในภาย หน้า...”


ไม่เพียงแต่กล่าวถวายพระพรชัยมงคลในวาระนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรยังได้รับฉันทานุมัติจากพระบรมวงศานุวงศ์ ให้กล่าวถวายพระพรชัยมงคลในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 อีกด้วย หม่อมราชวงศ์ปรียนันทนา รังสิต สมาชิกวุฒิสภาสรรหา ผู้เป็นพระนัดดา เล่าให้ฟังว่า


“เสด็จปู่ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร) ทรงเป็นพระราชโอรสที่พระชนมายุยืนที่สุด ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และในขณะนั้น (พ.ศ 2493) ทรงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ฝ่ายหน้า (ฝ่ายชาย) พระองค์เดียวที่เหลืออยู่ ทรงเป็นพระราชปิตุลาในพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถด้วย ทั้งสองพระองค์ทรงสนิทสนมคุ้นเคยกับท่านมากและทรงเรียกว่า “เสด็จลุง” เสด็จปู่ทรงกำพร้าพระมารดาตั้งแต่ชันษา 11 วัน รัชกาลที่ 5 จึงพระราชทานให้สมเด็จพระพันวัสสาฯ ทรงเลี้ยง เสด็จปู่จึงทรงสนิทสนมกับ พระราชโอรสพระราชธิดาในสมเด็จพระพันวัสสาฯ โดยเฉพาะ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก


หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 พระราชพิธีต่างๆในพระราชสำนักได้ถูกระงับไปเป็นเวลาเกือบ 20 ปี จนผู้ใหญ่ที่เชี่ยวชาญรู้เรื่องพระราชพิธี ก็ได้ล้มหายตายจากไปตามๆ กัน เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเสด็จปู่เป็นประธานผู้สำเร็จ ราชการฯ และต่อมาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่เพียงองค์เดียว เสด็จปู่จึงค่อยๆ รื้อฟื้นพระราชพิธีต่างๆ ที่ได้หยุดประกอบไป อาทิ พระราชพิธีแรกนาขวัญ พระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต ตามฤดูกาล เป็นต้น พระราชพิธีบรมราชาภิเษกจึงได้เป็นไปตามโบราณราช ประเพณีทุกประการ เพราะเสด็จปู่ได้ทรงค้นคว้า และกำกับขั้นตอนของพระราชพิธีด้วยพระองค์เองอย่างละเอียดยิ่ง”


นอกจากนี้ คุณหญิงยังเล่าต่อว่า ภายหลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ยังได้เสด็จฯ เป็นการส่วนพระองค์ เพื่อเฉลิมฉลองและร่วมเสวยพระกระยาหารค่ำ กับเสด็จในกรมและหม่อมเอลิซาเบธ รังสิต ณ อยุธยา ที่วังวิทยุ (วังของเสด็จในกรม) อย่างสำราญพระราชหฤทัยยิ่ง


จากบทบาทของเสด็จปู่องค์ต้นราชสกุลรังสิต ทำให้ หม่อม ราชวงศ์ปรียนันทนา ยังคงปลาบปลื้มในเหตุการณ์ครั้งสำคัญ เรื่อยมา แม้เกิดไม่ทัน แต่ในฐานะพสกนิกรชาวไทยคนหนึ่ง และเป็นตัวแทนของราชสกุลรังสิต ที่มีความใกล้ชิดผูกพันกับสถาบันพระมหา กษัตริย์ ในวาระ 60 ปี แห่งพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส คุณหญิงขอถวายพระพรให้ ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน พระสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ และขอให้ทรงได้สบายพระราชหฤทัยโดยเร็วที่สุด เพราะว่าในขณะที่บ้านเมืองของ เรามีวิกฤตเช่นนี้ คนไทยกำลังทะเลาะเข่นฆ่ากันเอง แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ทำให้ทรงทุกข์พระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง

จึงอยากเชิญชวน ให้คนไทยทุกคน ร่วมกันสร้างความสงบ สันติสุขให้กลับคืนมาสู่บ้านเมือง เพื่อมอบถวายให้ทั้ง 2 พระองค์ ที่ทรงเป็นร่มโพธิ์ร่มไทร ศูนย์รวมจิตใจคนไทยทั้งชาติ เพราะตลอดระยะเวลา 60 ปี ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ประเทศไทยได้เจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงมาก่อนนี้ เพราะฉะนั้น คนไทยจึงควรตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณ โดยให้ทั้ง 2 พระองค์ได้ทรงสบายพระราชหฤทัยโดยเร็ว

“ไม่ มีพระมหากษัตริย์และพระราชินีพระองค์ใดในโลก ที่ทรงงานหนัก ทรงทุ่มเทพระวรกาย เพื่อพสกนิกรมากเท่านี้แล้ว ทรงริเริ่มโครงการเพี่อปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนกว่า 3,000 โครงการ พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักพัฒนา ทรงพัฒนาทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและเพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ อย่างยั่งยืนและมีศักดิ์ศรี สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันคู่ ชาติไทยมากว่า 800 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระองค์อยู่เหนือการเมือง ทรงวางรากฐานให้แก่การปกครอง ระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างดี”

กระทั่งทุกวันนี้ แม้จะมิได้เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมพสกนิกรทั่วทุกภาคเหมือนแต่ก่อน แต่ทั้ง 2 พระองค์ก็ยังคงทรงงานทุกวัน และระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับที่โรงพยาบาลศิริราช เพื่อรักษาพระอาการประชวร สมเด็จพระนางเจ้าฯ ก็ทรงประทับเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิได้ห่าง เคียงคู่พระบารมีตราบจนทุกวันนี

“อัน ที่จริง ในวันที่ 28 เม.ย.ที่จะถึงนี้ เป็นวันสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ ที่คนไทยจะได้ร่วมกันฉลองในวาระ 60 ปีราชาภิเษกสมรส แต่ก็ทำได้ไม่เต็มที่ เพราะอยู่ในช่วงไม่สงบ จึงอยากขอให้ทุกคนร่วมกันนำความสงบ สันติ คืนมาร่วมกัน เพื่อตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย”


ไม่มีความคิดเห็น: