Google
 

11 พฤษภาคม 2553

บ้านของพระราชา, สายฝนเหนือปากน้ำบางนรา (ตอน ๒-จบ)

เหนือยอดเขาตันหยง ที่มองเห็น ณ เบื้องหน้ายามนี้ คือที่ตั้งของ 'พระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์' หนึ่งในพระราชฐานต่างจังหวัด ซึ่งตั้งอยู่ริมทะเลฝั่งตะวันออก บนเชิงเขาด้านทิศตะวันออกของเขาตันหยง ในพื้นที่หมู่ ๔ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส หรือตามทางหลวงสายอำเภอเมืองนราธิวาส-ตาก ใบ ห่างจากที่ตั้งศาลากลางจังหวัดนราธิวาส ประมาณ ๗ กิโลเมตร

ยอดเขาที่สูงที่สุดของ เขาตันหยง มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ๒๙๔ เมตร ส่วนองค์พระตำหนักตั้งอยู่บนเชิงเขาส่วนที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ปานกลาง ๖๐ เมตร ด้านหน้าเขาตันหยงส่วนที่ติดทะเล มีลักษณะทิวทัศน์สวยงามด้วยหาดทรายขาวยาวเหยียด แซมด้วยโขดหินรายเรียง ยามคลื่นลมซัดสาดเข้าหาฝั่ง เห็นเป็นฟองขาวสะท้อนกับแสงอาทิตย์พราว แพรว

สำหรับพสกนิกรในพื้นที่ จังหวัดนราธิวาส และพื้นที่ใกล้เคียง พอจดจำสภาพของพื้นที่แถบนี้ได้ว่า ในยามเดินทางเลาะเลียบผ่านบริเวณเชิงเขาตันหยง เดิมพื้นที่ในเขต พระราชฐานพระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์ เคยเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเขาตันหยง ชาวบ้านต่างปลูกเรือนรายเรียงอยู่ห่างกันพอประมาณ ลักษณะภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปเป็นป่าสมบูรณ์ พื้นที่แทบทุกอณูห่มคลุมไปด้วยมวลต้นไม้ขนาดใหญ่ ทำให้มีสัตว์ป่าใหญ่น้อยอาศัยอยู่หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น เสือ หมี กวางป่า และสัตว์เล็กอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก

ทรงสำรวจพื้น ที่โดยทั่วไปของเขาตันหยงด้วยพระองค์เอง

(ภาพโดย : จำเริญ วัฒนายากร)

(ภาพโดย : จำเริญ วัฒนายากร)

(ภาพโดย : จำเริญ วัฒนายากร)

(ภาพโดย : จำเริญ วัฒนายากร)

พุทธ ศักราช ๒๕๑๕ อันเป็นปีที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสำรวจพื้นที่โดยทั่วไปของเขาตันหยงด้วยพระองค์เอง และมีพระราชดำริว่าจะสร้างพระตำหนักบนเชิงเขาทางทิศตะวันออกของ เขาตันหยง เนื่องจากมีพระราชประสงค์ที่จะมีที่ประทับทางภาคใต้สุดของ ประเทศ ณ พื้นที่สุดเขตชายแดนไทย-มาเลเซีย ซึ่งราษฎรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม เพื่อจะได้ทรงดูแลเยี่ยมเยียนรา ษฎรด้วยพระองค์เองอย่างใกล้ชิด

ราษฎร บ้านเขาตันหยง ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม เมื่อทราบว่าเป็นพระราชประสงค์จะ ทรงสร้างพระตำหนัก ต่างรู้สึกปลื้มปีติในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ได้พร้อมใจกันน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินบ้านเขาตันหยง เพื่อเตรียมก่อสร้างพระตำหนัก และพากันโยกย้ายไปสร้างหมู่บ้านแห่งใหม่ เพื่อการอยู่อาศัย ทางทิศใต้ ติดกับเขตพระราชฐาน และอยู่มาจนถึงปัจจุบัน

พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสร็จวางศิลาฤกษ์สร้างพระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๑๕

ล่วงมา ๑ ปีหลังจากมีการน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน และมีการวางศิลาฤกษ์เพื่อเตรียม การก่อสร้างแล้ว สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้เข้าดำเนินการก่อสร้างพระตำหนักองค์แรก เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๖ โดยได้ละเว้นพื้นที่ที่เป็นสุสานของหมู่บ้านเดิมไว้ มิได้นำมาใช้ประโยชน์แต่อย่างใด เพื่อให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ให้ราษฎรบ้านเขาตันหยง ได้เข้ามาประกอบศาสนกิจ แผ่ส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษเป็นประจำทุกปี

นอกจาก นี้ พระองค์ท่านยังได้มีรับสั่งให้ปลูกเฟื่องฟ้าต่างชนิด ต่างสี เต็มไปทั้งบริเวณสุสาน พระราชทานชื่อว่า 'สุสานเฟื่องฟ้า' พร้อมทั้งพระราชทานทรัพย์สร้างมัสยิดไว้หน้าพระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์ ตลอดจนพระราชทานค่าใช้จ่ายในการย้ายบ้านแต่ละครอบ ครับ ตามสมควร

เมื่อ เริ่มแรก่อสร้างพระตำหนักทิกษิณราชนิเวศน์ ซึ่งใช้เวลาประมาณ ๖ เดือน ในเบื้องต้น การดำเนินการก่อสร้างอยู่ภายใต้การควบคุมของสำนักงาน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และรับผิดชอบดูแลรักษาพระราชฐานมา ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๑๖ กระทั่งปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ จึงได้มอบโอนความรับผิดชอบให้สำนักพระราชวัง เพื่อทำหน้าที่ดูแลรักษา เขตพระราชฐาน พระตำหนัก อาคาร และสิ่งของประจำอาคารทั้งหมด ประกอบด้วย พระตำหนัก ๔ องค์ และอาคารต่างๆ อีก ๘๖ อาคาร

รูปแบบของพระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์ มีรูปลักษณ์เป็นอาคารคอนกรีตก่ออิฐถือปูน ลักษณะเป็นทรงปั้นหยาสมัยใหม่ อันเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมของชาวภาคใต้ พระองค์จึงมีพระราชดำริให้สถาปนิกออกแบบให้มีรูปทรงประสานกลมกลืน กับอาคารบ้านเรือนแบบท้องถิ่นที่มีอยู่แต่ดั้งเดิม

พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ แบ่งออกเป็น ๓ เขตพระราชฐาน ประกอบด้วย เขตพระราชฐานชั้นนอก เขตพระราชฐานชั้นใน และเขตพระราชฐานที่ประทับ โดยเขตพระราชฐานที่ประทับ มีพระตำหนักตันหยง และถัดไป เป็นตำหนักทำงานของกองราชเลขาฯ ในพระองค์ ตึกราชองครักษ์ เรือนข้าหลวง ห้องเครื่อง และเรือนรับรอง โดยทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ประมาณ ๕๔๒ ไร่

รวมถึงมีพื้นที่ป่าอีกประมาณ ๑,๘๗๕ ไร่ ที่จะต้องดูแลรักษา ป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า การยิงและจับสัตว์บนเขาตันหยง โดยพื้นที่ส่วนนี้นับเป็นเขตพระราชฐานอีกส่วนหนึ่งด้วย

นอกจากนี้ บนเขาตันหยง ยังมีสำนักสงฆ์ของพระตำหนัก สำหรับเป็นที่พักของพระราชาคณะ หรือพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ตามเสด็จฯ อย่างเป็นสัดส่วน

(ภาพโดย : จำเริญ วัฒนายากร)

ทรงเสด็จพระ ราชดำเนิน เยี่ยมพสกนิกรชาวจังหวัดนราธิวาส

(ภาพโดย : จำเริญ วัฒนายากร)

สำหรับ ภูมิทัศน์ และภูมิสถาปัตย์ของพระราชฐานต่างจังหวัดแต่ละพระราชฐาน จะมีแบบการจัดสวนในราชอุทยานแตกต่างกัน เช่น ราชอุทยานในเขตพระ ราชฐานพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จะจัดสวนแบบสวนหิน ส่วนใหญ่เป็นประเภทใบไม้ สาเหตุเพราะอยู่ใต้ร่มเงาของต้นไม้ มีแสงแดดไม่เพียงพอที่จะปลูกไม้ดอกให้เจริญงอกงามได้

ต้นไม้ พื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ของ พระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์ ได้แก่ ปาล์มบังสูรย์ รักนา และดาหลา และบริเวณราชอุทยานในเขตพระราชฐานที่ ประทับ มีคอกเลี้ยงกวางป่า และมีกรงเลี้ยงนก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนกหายากที่ใกล้จะสูญพันธุ์ โดยพระองค์มีพระราชดำริให้ขยาย พันธุ์นกขมิ้นซึ่งเป็นนกพื้นเมืองที่หายาก เพื่อให้มีจำนวนมากพอที่จะปล่อยเข้าป่าต่อไป

ย้อน กลับไปเมื่อ ๓๐ ปีที่แล้วมา ราษฎรในจังหวัดนราธิวาส และพื้นที่ใกล้เคียง ต่างจดจำได้ดีว่ วันที่ ๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๖ นับเป็นครั้งแรกที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ได้เสด็จฯ แปรพระราชฐานมาประทับแรม ณ พระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์

และต่อ มา ได้เสด็จฯ แปรพระราชฐานมาประทับแรมช่วงประมาณเดือนสิงหาคม-ตุลาคม เกือบทุกปี

โดยปกติแล้ว พระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์ จะเปิดให้ประชาชนโดยทั่วไปได้เข้าชม พร้อมทั้งเที่ยวชมในบริเวณเขาตันหยง ซึ่งมีทิวทัศน์สวยสดงดงามได้ ขณะที่มิได้เสด็จไปประทับแรม ในระหว่างเวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ นาฬิกา แต่จะงดเมื่อมีการเสด็จแปรพระราชฐานมาประทับแรม ณ ที่แห่งนี้

แบมะ, ก็เป็นเช่นเดียวกับพี่น้องไทยมุสลิม ราษฎรไทยพุทธ และรวมถึงศาสนิกชนอื่นๆ ในพื้นที่ชายแดนใต้ ที่รู้สึกปลื้มปีติเป็นล้นพ้น ในพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ทุกพระอค์

โดย เฉพาะ ทุกคราครั้งที่ได้เสด็จแปรพระราชฐาน มาประทับแรม ณ พระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์

เพราะ...นี่ คือ 'สายฝน' ที่ไร้ซึ่งฤดูกาล

แลได้พัดพาความร่มเย็น สู่ผืนแผ่นดินอยู่เสมอมา...มิได้ขาด...

ไม่มีความคิดเห็น: