Google
 

08 สิงหาคม 2551

บทความสั้น V.A.D. : Value Added by Design

กรอบแนวความคิดในการเพิ่มมูลค่าของสินค้า (Value Added) ของโลกนอกจากจะเป็นการเปลี่ยนแปลงวัสดุพื้นฐานให้มี ประโยชน์ใช้สอยมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีแล้ว การเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วย การออกแบบ (V.A.D. : Value Added by Design) เป็นที่ยอมรับ กันมานานและกำลังเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยมากขึ้น แต่แนว ความคิดดังกล่าวดูเหมือนจะไม่โลดแล่นอย่างที่เราอยากให้เป็น จึงเป็น เรื่องที่น่าคิด (และต้องคิด) ว่าเกิดอะไรขึ้นกับสังคมเราและอุปสรรค ที่ว่านั้นคืออะไรแก้ไขได้หรือไม่ แก้ไขได้ที่ใดบ้าง (และอะไรที่ต้องยอม รับโดยแก้ไขไม่ได้) แก้ไขอย่างไร…จึงเป็นที่มาของบทความอ่านสบาย ๆ (กึ่งประชดประชัน) อย่างยาวๆ นี้ครับการเพิ่มมูลค่าด้วยการออกแบบมีกรอบความคิดที่อาจจะสรุปสั้นๆได้ว่า...“เป็น การออกแบบที่ต้องสนองปมทางจิตใจของมนุษย์ แสวงหาความต้องการเบื้องลึกในใจของผู้บริโภค นำเสนอ ความแปลกใหม่ สนองกิเลสตันหา ความสะดวก ความเพลิดเพลิน ความงดงามและความปลอดภัย” …หากสินค้า (หรือการบริการ) ใด สามารถเข้าถึงจุดที่ว่ามาข้างต้นได้สินค้า (หรือการบริการ) นั้นก็จะเป็นที่ ยอมรับและประสบความสำเร็จ

8 ข้อคิด-ข้อมูล .......ที่อาจทำให้การเพิ่มคุณค่าสินค้าด้วยการ ออกแบบของเมืองไทยไม่แล่นลิ่ว ปัจจัยที่ใช้พิจารณาหาข้อคิดและ ข้อมูลของอุปสรรคที่ว่านี้จับความตั้งแต่ลักษณะประจำตัวของคนไทย ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่อง ลักษณะการบริหารสังคมการเรียนการสอน และข้อมูลเมืองไทยกับโลกาภิวัตน์…เป็นการเขียนบันทึกอย่างสบายๆ เป็นการเขียนบันทึกเพื่อหาเหตุที่มาวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้น ด้วยจิต อันเป็นกุศล ….หากผู้อ่านจะเห็นด้วยในสิ่งที่บันทึกนี้หรือไม่ ไม่ใช่ปัญหา แต่หากผู้อ่านได้อ่านแล้วเกิดความรู้สึกรักชาติรู้สึกเห็นว่าปัญหาเหล่านี้ เกิดขึ้นจริงและผู้อ่านเกิดความรู้สึกว่าบางอย่างในสังคมเราจะต้อง มีการแก้ไข ต้องพยายามช่วยกันแก้ไข…ความรู้สึกนั้นคือความตั้งใจ และเป็นที่มาของบทความนี้....ข้อคิด-ข้อมูล ที่อาจทำให้การเพิ่มคุณค่าสินค้าด้วยการ ออกแบบของเมืองไทยไม่แล่นลิ่ว...

1. ค รู อ อ ก แ บ บ ศิ ล ป์ ไ ท ย แ ต่ โ บ ร า ณ จ ะ ห ว ง วิ ช า แ ล ะ ข า ด ก า ร จ ด บั น ทึ ก เพราะส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการถ่ายทอดจาก บุคคลสู่บุคคล มีครูช่างจำนวนไม่มากนักที่จะเปิดเผยและเผยแพร่ กลยุทธในการออกแบบสู่สาธารณะหรือบุคคลทั่วไป อีกบางครั้งยังมี ธรรมเนียมเชื่อปฎิบัติของลูกศิษย์อีกในเรื่องของการออกแบบหรือ การทำงานที่ไม่ตรงกับที่ครูช่างเคยทำกันมา เรียกว่าเป็นการ “ผิดครู” จึงทำให้ระบบและแนวความคิดในการออกแบบถูกจำกัดไม่ให้ มีการขยายแนวความคิดออกไปสู่สิ่งใหม่ เป็นการย่ำเท้าตามรอยเดิม และสร้างวิถีปฎิบัติการ “ลอกแบบ” กันในสังคมของนักออกแบบไทย มาแต่โบราณ งานศิลปกรรมหรือสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าในอดีต ของไทยจึงเป็นระบบประเพณีนิยมการถ่ายทอดมากกว่าการสร้าง สรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดความหลากยุคหรือเกิดการสะท้อนความเป็นอยู่ ของชุมชนน้อยกว่าที่ควรจะเป็นแต่ก็ยังโชคดีที่ประเทศไทยนั้นมี ครูช่างบางท่านที่เป็นอัจฉริยะบุคคล ผู้สร้างงานต้นแบบที่มีคุณภาพ อย่างยิ่งทำให้ระบบการลอกแบบที่ลอกแบบจากสิ่งที่มีคุณภาพสูงยิ่ง เป็นงานที่ยอมรับกันได้

2. ร ะ บ บ ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย เ ป็ น ก า ร ส อ น ใ ห้ ล อ ก แ บ บ มากกว่าการสอนให้สร้างสรรค์ หมายถึงระบบการศึกษายุคใหม่ในวิชา ศิลปะในโรงเรียนมากมาย ที่อาจารย์มักให้นักเรียนวาดรูปหรือทำงาน ศิลปหัตถกรรมตามตัวอย่างที่อาจารย์นำมาให้เป็นแบบ นักเรียน จะต้องพยายามลอกแบบให้เหมือนหรือใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะทำเช่นนั้นมากที่สุดเท่าไร จะได้คะแนนเรียนสูงขึ้นมากเป็น เกณฑ์หากนักเรียนผู้ใดมิได้ลอกแบบตามที่อาจารย์ต้องการหรือมี ความคิดในการปรับแต่งสร้างจินตนาการตนเองขึ้นมา (ซึ่งส่วนใหญ่ จะยังไม่สามารถผลิตงานที่ดีมากๆ ได้ เพราะเป็นเพียงช่วงเริ่มต้นของ การสร้างสรรค์) ก็จะถูกอาจารย์ต่อว่าและให้คะแนนเรียนในงานชิ้นนั้นๆ ต่ำ เหตุที่เกิดอาจจะพิจารณาออกได้เป็น 2 ประเด็นคือประเด็นแรกเป็นเพราะอาจารย์เอง ก็เคยร่ำเรียนมาด้วย ระบบการลอกแบบเช่นนั้นมา จึงนำมาใช้กับนักเรียนของตนเองโดยไม่เข้าใจหรือยังคิดวิธีการสอนที่ดีกว่า นั้นไม่ได้ หรืออีกประเด็นหนึ่งก็คือ อาจารย์เองไม่มีความรู้ความสามารถในการออกแบบสร้างสรรค์ที่ดี เพียงพอจึงไม่สามารถถ่ายทอดสิ่งที่ดีกว่าให้กับนักเรียนของตนเองได้ และผลจากระบบการเรียนเช่นนี้ ทำให้ประเทศไทยเราไม่สามารถ กระจายความสามารถในการออกแบบสร้างสรรค์ให้เป็นฐานที่ใหญ่ เพียงพอ ไม่สามารถสร้างความเข้าใจทางด้านศิลปะให้ฝังรากลึกเข้าไป ในความเข้าใจของประชาชนเป็นระบบการสร้างให้นักเรียนเป็น “นักลอกแบบ (Copier)” มากกว่าเป็น “นักออกแบบ (Designer)” สร้างให้เหล่านักเรียนเป็นเพียง “ช่างฝีมือ (Skill Work Man)” ที่ผลงานออกมาด้วยความชำนาญมากกว่าที่จะเสริมสร้างให้นักเรียน ตนเองนั้นเป็น “นักสร้างสรรค์ (Creater)” ที่พยายามสร้างสรรค์ งานศิลป์ใหม่ๆ ขึ้นและผลที่ตามมาก็คือ......สังคมไทยเป็นผู้ที่ไม่เข้าใจการ เสพทางรสนิยมที่ดีเพียงพอ ถูกกำหนดความต้องการและความรู้สึก ของตัวเอง (ที่ตนเองคิดว่าคือรสนิยม) ให้เป็นไปตามกระแสความนิยม (กระแสการตลาด) ที่ตนเองไม่ได้เป็นผู้ใช้ความรู้สึกบริสุทธิ์ที่ สร้างสรรค์ของตนเป็นผู้เลือกใช้ ซึ่งปัจจุบันกระแสเหล่านี้มักจะ มาจากนอกประเทศเกือบทั้งสิ้นการเรียนประวัติศาสตร์อย่างท่องจำ สร้างความเบื่อหน่าย และทำลายภูมิปัญญา ทั้งที่ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีประวัติ อันยาวนาน เป็นประเทศที่มีงานศิลป์ที่เป็นเอกลักษณ์ที่คนทั่วโลกยอมรับ แต่ครั้นเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ระบบการผลิตด้วยเทคโนโลยี ต่างๆ เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ความสามารถในการปรับตัวของประชาชนไทยมีน้อย เกิดการขาดช่วงขาดการต่อเนื่องเพราะระบบการเรียน ประวัติศาสตร์ของไทย เป็นระบบการเรียนแบบท่องจำไม่เน้นเรื่อง แนวคิดและเหตุผล ที่มาของประวัติศาสตร์เหล่านั้นเป็นตำราเรียนที่อยู่ ในกรอบของผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจต้องการให้นักเรียน นักศึกษา รู้เพียง ผลที่ตนเองต้องการให้รู้ เป็นการเรียนเพียงแง่มุมเดียวของเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในอดีต ทำให้เป็นที่เบื่อหน่ายของนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักเรียนในวัยรุ่นที่เป็นวัยต้องการแสวงหา และมีคำถามในสิ่งรอบตัว ทำให้นักเรียนที่จะได้คะแนนดีเป็นนักเรียนที่มีความสามารถในการ ท่องจำ ไม่ใช่นักเรียนนักศึกษาที่มี เหตุและผล ภูมิปัญญาหลายอย่าง ของไทยรวมถึงภูมิปัญญาทางศิลป์ จึงถูกจำกัดอยู่เพียงรูปแบบสุดท้าย ไม่ทราบเหตุผลที่มา (เช่น เรียนรู้ว่าหลังคาบ้านไทยจะต้อ งเป็นจั่วทรง สูงเจดีย์ไทยจะต้องมีทรงกลมหรือเป็นลักษณะการย่อมุมไม้ 12 โดยไม่จำเป็นที่จะต้องทราบว่า...ทำไมหลังคาบ้านทรงไทยจึงต้องเป็นรูปจั่วทรง สูงหรือเจดีย์ไทยทำไมต้องย่อมุมโดยรอบเป็นหยักเหลี่ยมๆ 12 มุม)ทั้งๆ ที่สิ่งต่างๆ ที่บรรพบุรุษไทยสร้างขึ้นมาเป็นประวัติศาสตร์และ เป็นมรดกให้ลูกหลานไทยนั้นล้วนแต่มีเหตุมีผลและมีภูมิปัญญาแฝง ไว้อยู่เกือบทั้งสิ้น จึงเป็นที่น่าเสียดายว่าระบบการเรียนประวัติศาสตร์ ของไทยกลายเป็นสิ่งเร่งเร้าให้เยาวชนของชาติถอยห่างจากการเชื่อม ต่อของภูมิปัญญาบรรพบุรุษไทยระบบการศึกษาและระบบการบริหารไทย ไม่สร้างเสริม ให้ใช้สมองครบ 2 ด้าน โดยที่สมองของมนุษย์โดยปกติจะมี 2 ด้าน ด้านขวามือนั้นจะเป็นเรื่องของความคิดที่เป็นระบบที่มีเหตุมีผล (Order) และสมองซีกซ้ายมือเป็นสมองที่เป็นความคิดด้านการสร้าง สรรค์ (Creative) ซึ่งระบบการวัดผลที่ใช้เชิงจำนวนมากกว่าคุณภาพ (Quantitative not Qualitative) เพราะเป็นการใช้เกณท์ตัดสิน ที่ง่ายต่อการตัดสินมากที่สุด การให้คะแนนนักเรียน นักศึกษา ของไทย ในระบบการศึกษาทั่วไป หรือการให้รางวัลตำแหน่งเพิ่มขึ้นหรือลดลง ในระบบการบริหารองค์กรก็จะเป็นเชิงจำนวนมากกว่าเชิงคุณภาพ (เพราะแม้การวัดเชิงคุณภาพก็พยายามที่จะเอาจำนวนเข้ามาเป็น ดัชนีชี้นำ) ซึ่งจากระบบการศึกษาและระบบการบริหารเช่นนี้ทำให้ นักเรียนและอาจารย์ ลูกน้องและเจ้านาย ลูกจ้างและนายจ้าง ต่าง พยายามที่จะใช้สมองซีกขวา (Order) ในการทำงานและการแก้ ปัญหา การบริหาร การใช้สมองซีกซ้าย (Creative) ก็จะลีบเล็กเรียวลง กลาย เป็นสังคมที่กลัวต่อการนำเสนอสิ่งใหม่จากผู้ที่ไม่มีอำนาจ หรือผู้ที่มี สิทธิต่ำเพราะผู้ที่มีอำนาจมากกว่าไม่มีเครื่องรับทำความเข้าใจต่อการ นำเสนอของผู้ที่ด้อยกว่า แล ะผู้ที่ด้อยกว่าก็ไม่อยากจะนำเสนอสิ่งใหม่ ที่เป็นความสร้างสรรค์เพราะเกรงจะผิดต่อกฎเกณฑ์หรือไม่เป็นที่พอใจ หรือเกรงว่าจะสร้างความรำคาญกับผู้ที่มีอำนาจมากกว่าเคยคิดไหมว่าทำไมนักออกแบบไทยจึงเป็นเพียง เยาวชนวีรชน หากติดตามข่าวสารในรอบ 20 ปีเกี่ยวกับการประกวด ผลงานที่เกี่ยวข้องกับศิลป์ของโลก จะพบว่าเด็กไทยจำนวนมากได้ สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยโดยการชนะการประกวดระดับโลก หลายรางวัลเป็นเยาวชนจากทั่วประเทศที่ไม่ได้จำกัดเพียงที่ศึกษา อยู่ในสภาพแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร เยาวชนนักเรียนไทยจาก อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย (ลูกศิษย์ครูสังคม ทองมี) เป็นเยาวชนไทย กลุ่มแรกที่ชนะการประกวดภาพเขียนเยาวชนระดับโลก หลังจากนั้น นักเรียนจากหลายโรงเรียนก็เข้าร่วมประกวดและชนะงานระดับโลก มากมาย นิสิต นักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ หลากหลาย สถาบันทั่วประเทศเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีปทุม สถาบันเทคโน โลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังฯลฯ ก็ชนะการประกวด ระดับโลกของ U.I.A. (Union of International Architect) จนนักเรียน นิสิต นักศึกษาไทย เป็นที่เกรงขามต่อวงการออกแบบ ทั่วโลกแต่ครั้งเมื่อเหล่านักเรียนนิสิตนักศึกษาเหล่านั้นเติบโต ขึ้นเป็นผู้ใหญ่ความสามารถในการแข่งขันนั้นหมดไป ยากที่จะหา เยาวชนผู้มีความสามารถในอดีตและปัจจุบันเป็นผู้ใหญ่แล้วจะชนะ การประกวดใดๆ ในระดับโลกอีก จึงอาจจะสันนิษฐานได้ว่าปัญหาอยู่ที่ การเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมของเขาเหล่านั้น ซึ่งเมื่อครั้งยังเป็น เยาวชนอยู่เขาได้รับโอกาสและได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์ผู้มุ่งมั่น บางท่าน ให้กล้าคิดและกล้าแสดงออกให้กล้ารังสรรค์และสร้างสรรค์ สิ่งใหม่เพื่อการออกแบบที่ดีกว่าแต่เมื่อเขาออกจากสถาบันที่ให้โอกาส กับสมองซีกซ้าย (ซึ่งมีความสามารถด้าน Creative) ไปแล้วเข้าสู่สังคม ที่ไม่ยอมรับและไม่ให้โอกาสพวกเขาได้คิดและนำเสนอ สังคมที่ไม่ สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยด้วยกันเอง สังคมที่ไม่ได้ ชื่นชมคนไทยกันเอง สังคมที่ต้องการกระแสเพื่อตัดสินรสนิยม เหล่า เยาวชนไทยเหล่านั้นก็จำต้องละทิ้งความสามารถในเชิงออกแบบและ สร้างสรรค์ไปเพื่อความอยู่รอดในการดำเนินชีวิตและหมดโอกาสที่จะ แสดงความสามารถสู่สาธารณชน

3. ง า น ศิ ล ป์ ไ ท ย เ ริ่ ม ก ล า ย เ ป็ น ท า ส ฝ รั่ ง และอาจจะรวม ญี่ปุ่นแลเกาหลีในอนาคตอันใกล้ จากระบบการเรียนการสอน ประวัติศาสตร์ของไทย จากระบบการศึกษาการลอกแบบของไทยที่ สร้างแต่ช่างฝีมือมากกว่านักออกแบบ สร้างนักลอกแบบมากกว่านัก สร้างสรรค์ การขาดการต่อเชื่อมความสามารถและความภาคภูมิใจใน ภูมิปัญญาบรรพบุรุษ รวมถึงไม่เสริมให้สังคมมีรสนิยมที่ดีของตนเอง แต่นิยมสร้างรสนิยมตามกระแสต่างชาติจึงเห็นได้ว่างานศิลป์ต่างชาติ กลายเป็นกระแสหลักของคนไทย ตั้งแต่อาคารรูปทรงโรมันที่กระจาย เกลื่อนกลาดทั่วประเทศ (ทั้งๆ สภาพแวดล้อมและพฤติกรรมการใช้ สอยของไทยกับโรมันนั้นแตกต่างกันมาก แต่คนไทยเองก็พยายาม จะลอกแม้รูปแบบภายนอกมาก่อสร้าง) แฟชั่นเสื้อผ้าหรือชุดแต่งกาย ที่ลอกเลียนต่างประเทศในทุกฤดูกาล (ทั้งที่ประเทศไทยกับประเทศ ทางตะวันตกนั้นมีฤดูกาลที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง) หรือแม้แต่ภาพวาด ก็จะตัดสินกันด้วยรสนิยมและกระแสของต่างชาติเป็นสำคัญ สิ่งเหล่า นี้ค่อยก้าวเคลื่อนเข้าครอบงำคนไทยหลังการเปิดประเทศจริงจังและกระแสการครอบงำโดยความพร้อมใจของคนไทยเองนั้นก็รุนแรงมาก ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อระบบการติดต่อสื่อสารของโลกมีความรวดเร็วชัดเจน และแม่นยำมากขึ้น อีกทั้งในปัจจุบันกระแสจากประเทศญี่ปุ่นเริ่มเข้า มาอย่างรุนแรงมากขึ้น โดยเข้ามาด้วยแฟชั่นเครื่องประดับเครื่อง แต่งกายของวัยรุ่นก่อน อาจจะน่าเป็นห่วงว่านอกจากคนไทยเราจะขาด ความเข้าใจในภูมิปัญญาของคนไทยกันเองขาดความสามารถในการ ออกแบบสร้างสรรค์เอง ขาดการฝึกฝนกล่อมเกลาให้มีรสนิยมที่ดี ของตนเองแล้ว ยังใช้การลอกแบบจากต่างประเทศและคิดว่าสิ่งนั้น คือการออกแบบและสร้างสรรค์กรณีศึกษาการออกแบบตราสัญลักษณ์ของบริษัท การบินไทย เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจเรื่องความไม่เชื่อในความ สามารถของคนไทยด้วยกันเอง มีผู้บอกว่า…เมื่อครั้งก่อตั้งบริษัท การบินไทยขึ้นนั้น จำเป็นที่จะต้องมีตราสัญลักษณ์ของตนเอง มีการ นำเสนอความคิดเกี่ยวกับตราสัญลักษณ์หลากหลายโดยศิลปินไทย แต่ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริหารยุคนั้นเพราะเชื่อว่า คนไทยด้วยกันเอง จะมีความสามารถทางการออกแบบงานติดต่อระหว่างประเทศไม่ดี เพียงพอ จึงตัดสินใจว่าจ้างบริษัทออกแบบต่างชาติด้วยค่าบริการที่ แพงกว่าจ้างคนไทยด้วยกันเองเป็นสิบเท่า ซึ่งชาวต่างชาติที่ออกแบบ นั้นก็ต้องทำการกลับมาศึกษาศิลปวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาไทย และในที่สุดก็ตัดสินใจที่จะเลือกเอา “ชฎา” ไทยเป็นรูปแบบหลักในการ พัฒนาความคิดและในที่สุดก็ออกแบบมาเป็นสัญลักษณ์รูป “เจ้าจำปี” อย่างที่ใช้กันปัจจุบันสร้างความท้อถอยให้กับศิลปินไทยจำนวนมาก ท้อถอยเนื่องจากไม่เข้าใจว่า ทำไมผู้บริหารของไทยไม่เชื่อมั่นคนไทย ด้วยกันเองและทำไมจึงปล่อยให้รูปแบบสัญลักษณ์แบบนั้นออกมาเป็น ตัวแทนของสายการบินแห่งชาติได้อย่างไร มีคำถามอีกมากมายตามมา ดังตัวอย่างคำถามเช่น• ทำไมชฎาที่เป็นของสูงจึงนำมาตะแคงข้างแบบนั้น ?• ชฎามิได้เป็นสัญลักษณ์ของการติดต่อเคลื่อนไหว หรือขนส่งใดๆ เลย ทำไมเอามาเป็นต้นแบบเพื่อสร้างแนวความคิดใน การออกแบบ (Conceptual Design)?• ทำไมคนทั่วไปจึงเห็นและเรียกสัญลักษณ์นั้นว่า “เจ้าจำปี”?กรณีศึกษานี้เป็นเพียงกรณีศึกษาเล็กเพียงกรณีเดียว ที่บอกเล่าเหตุการณ์ และปรากฎการณ์ของสังคมไทยเกี่ยวกับงานศิลป์ ได้มากมาย ทั้งระบบความเชื่อ ระบบการนับถือชาวต่างชาติที่ลึกอยู่ ภายในใจ การตัดสินงานโดยไม่พิจารณาถึงภูมิปัญญาและเหตุผล ฯลฯ เป็นกรณีศึกษาที่ต้องพิจารณาหากยังต้องการที่จะพัฒนาให้การออกแบบ เป็นเครื่องมือในการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและการบริการของประเทศไทย

4. ชนบทไทยขาดจิตแห่งการสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพราะ ถูกครอบงำจากเมืองใหญ่ ซึ่งต่างกับหลายประเทศที่ย้อนแนวกัน ชุมชนที่มีประชากรส่วนใหญ่ของประเทศอาศัยอยู่ของประเทศไทย ก็เช่นเดียวกับเกือบทุกประเทศในโลก คือชุมชนในต่างจังหวัดแต่ละ แห่งก็จะมีเอกลักษณ์ศิลป์ที่เป็นของตนเอง เนื่องจากการย้ายถิ่นฐาน และลักษณะเผ่าพันธุ์จะผูกติดกันไว้ แต่ด้วยระบบการปกครองของ ประเทศไทยเป็นระบบรวมศูนย์การนำศิลป์จากเมืองหลวงไปใช้ ในท้องถิ่นต่างๆจะเป็นเรื่องธรรมดาจนกระทั่ง 50 ปี หลังมานี้ ระบบ การขนส่ง ระบบการติดต่อข่าวสารและระบบการบริหาร แบบรวมศูนย์ รุนแรงและรวดเร็วขึ้น ทำให้เกิดการหลั่งไหลของศิลป์ และรสนิยม จากส่วนกลางเข้าไปมีอิทธิพลและครอบงำศิลป์พื้นถิ่น อย่างรุนแรง และบางครั้งก็หมดจดยิ่ง ศิลป์ท้องถิ่นก็เริ่มสูญหายไปและมีโอกาส ที่จะสูญหายไปอย่างถาวรถ้าคนรุ่นใหม่ของชุมชนท้องถิ่น นั้นลืมตา ดูโลกและเสพวัฒนธรรมศิลป์จากส่วนกลางตั้งแต่เกิดจนนึกว่าเป็น ศิลป์ท้องถิ่นของตนเองตัวอย่างของอิทธิพลนี้ได้แก่วัดวาอาราม ที่เอาแบบไป จากกรุงเทพมหานคร สร้างเหมือนกันทุกชุมชนของประเทศหรือ อาคารประเภทอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคารขนาดเล็กอย่างป้ายรถเมล์ จนถึงอาคารขนาดใหญ่และเป็นอาคารรวมศูนย์กลางของมวลชน เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ศาลากลางจังหวัด ศาลจังหวัด สถานีตำรวจก็ เป็นลักษณะเดียวกันหมด ที่ถูกจัดส่งจากกรุงเทพมหานคร สู่ทั่วทุก ท้องถิ่นทั่วประเทศนอกจากงานอาคารที่เป็นงานที่เห็นได้ง่ายที่สุดแล้ว งาน ศิลปหัตถกรรมต่างๆ ที่ท้องถิ่นเคยมีความสามารถในการผลิตก็ถูก แย่งพื้นที่โดยวิทยาการเทคโนโลยี หรือรูปแบบทางศิลป์จากส่วนกลาง อีกด้วยไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องปั้นดินเผา ฯลฯซึ่งการเข้ามาทาง เทคโนโลยี ที่มีความสามารถในการผลิตที่รวดเร็วแม่นยำ มีมาตรฐานที่ ผลิตออกมาเหมือนๆ กันจำนวนทีละมากๆ รวมถึงการแข่งขันทางด้าน ราคา ความสามารถทางการตลาดจึงเป็นเหตุให้การผลิตผลิตภัณฑ์ ท้องถิ่นน้อยลงหรือผลิตแล้วอาจจะไม่ได้มาตรฐานที่ส่วนกลางวาง เกณฑ์เอาไว้ การถูกกดราคาด้วยวิธีกรรมต่างๆ นานา ของผู้ลงทุน หรือคนกลางทำให้การเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์ ที่อิงกับศิลป์ท้องถิ่น ถดถอยอ่อนแอลง ขาดเวลา ขาดแรงดลใจที่จะสร้างสรรค์หรือรังสรรค์ ศิลป์ใหม่ๆ และขาดความคิดที่จะปรับปรุงให้ผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่น นั้นมีคุณค่าทางศิลป์เพื่อเพิ่มมูลค่าขึ้นไป

5. ความเชื่อที่งมงาย ความเชื่อเพียงรูปแบบทางพิธีกรรมและซินแสหมอผี ทำลายงานศิลป์และความคิดสร้างสรรค์ อาจจะเพราะสังคมไทยเห็นความสำคัญทางด้านวัตถุและความร่ำรวย มากขึ้นทุกวัน อาจจะเป็นเพราะสังคมไทยในปัจจุบันขาดความอบอุ่น มากขึ้น อาจจะเป็นเพราะสังคมไทยขาดความลุ่มลึกทางศีลธรรม มากขึ้น หรืออาจจะเป็นเพราะสังคมไทยมีความขลาดเขลาต่อความจริง มากขึ้น ความเชื่อที่งมงายด้วยพิธีกรรมแปลกๆ จึงเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วอีกทั้งยังมีวัฒนธรรมความเชื่อจากต่างประเทศเข้ามาในสังคม ไทยด้วยระบบการเดินทางสื่อสารที่รวดเร็วขึ้น สื่อแห่งความไม่รู้นี้จึง ถาโถมเข้ามาครอบงำประชาชนไทยจำนวนไม่น้อย และเมื่อมีความเชื่อ และมีพิธีกรรมที่งมงามเหล่านี้เกิดขึ้น ศิลป์ไทยหลายอย่างจึงถูกท้า ทายและทำลาย งานศิลปสถาปัตยกรรมถูกละทิ้งและหลีกเลี่ยง (เช่น ซินแสที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งบอกว่า บ้านไทยมีลักษณะเหมือนตัวแมลง มีเสาเรือนเหมือนกับขาของแมลง หากใครอยู่หรือใช้เรือนไทยจะมีชีวิต ที่ไม่ยั่งยืน เพราะว่าจะเหมือนแมลงที่เกิดขึ้นและตายไปอย่างรวดเร็ว เป็นต้น) หรือวัฒนธรรมความเชื่อในการใช้สีดำทาทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อ บูชาพระราหู (โดยทาทับลวดลายสีทองและสีแดงชาดอันเป็นศิลป์ ไทยไปให้หมด) หรือการสร้างลวดลายแปลกประหลาดเพื่อประดับ ประดาตามที่ต่างๆหากกระแสของสังคมไทย ยังต้องการเพียงความ เพิ่มพูนทางทรัพย์ ยอมทำพิธีกรรมแปลกประหลาดและขัดแย้งทำลาย ศิลป์ไทยไปเรื่อยๆ มีลักษณะของการลอกแบบขึ้นมาเป็นสำคัญ นอกจากศิลป์ไทยจะเสื่อมหายไปอย่างรวดเร็วแล้ว ฐานความรู้ทาง ศิลป์ทั่วไปในประชาชนไทยก็จะค่อยๆ ถูกทำลายไปด้วย

6. การพัฒนาเพียงทางวัตถุจากตะวันตกอย่างผู้ไม่รู้ สร้างปัญหามากกว่าแก้ปัญหา (แนวความคิดแบบ Modernization without Development) อาจจะเป็นเพราะประเทศไทยต้องการ ความเจริญเติบโตอย่างเขย่งก้าวกระโดดการพัฒนาต่างๆ จึงเน้นทาง ด้านวัตถุเป็นสำคัญ ขาดการพัฒนาและส่งเสริมวัตถุที่ผลิตนั้นๆ ให้มีคุณค่าทางศิลป์ไปด้วยแนวความคิดการแก้ปัญหาหลายอย่างจึงเป็น การคัดลอกมาหรือนำเข้ามาอย่างขาดการปรับปรุงให้เหมาะสมกับ สังคมไทย (Transplant) มากกว่าจะเป็นการนำเข้ามาปรับปรุงและ ออกแบบที่เหมาะสม (Transfer) ตั้งแต่การพยายามถมคลองเพื่อสร้าง ถนน ทางด่วนและรถไฟฟ้า ที่เข้าใจได้เพียงประโยชน์ใช้สอยทางวัตถุอย่างเดียว ขาดความงดงามและคุณค่าทางจิตใจโดยสิ้นเชิง ซึ่งจะ แตกต่างจากแนวความคิดปัจจุบันของประเทศที่เจริญแล้วทั่วโลก ที่ ต้องการสร้างเมืองใหม่ สร้างวัตถุใหม่ สร้างสาธารณูปโภคใหม่โดยจะ คำนึงถึงเรื่องศิลป์เป็นสำคัญ เพราะประเทศเหล่านั้นเล็งเห็นว่า นอกจากวัตถุจะทำให้ร่างกายคนเรามีความสะดวกแล้วจิตใจก็เป็น เรื่องสำคัญที่จะต้องมีสุนทรียภาพด้วยอาจจะเป็นเพราะว่าคุณค่าทางศิลป์และความงาม เป็นสิ่งที่ตัดสินด้วยตัวเลขยากหรืออาจจะเป็นเพราะผู้มีอำนาจสั่งการ เป็นผู้ที่ขาดความเข้าใจทางศิลป์และการออกแบบ หรืออาจจะเป็น เพราะเมืองไทย ต้องการจำนวนมากกว่าคุณภาพ ทำให้สิ่งต่างๆ ที่ เกิดขึ้นใหม่ในประเทศไทยยุคหลัง มีเพียงประโยชน์ใช้สอยเฉพาะ สิ่งที่ทำขึ้นนั้นๆ ขาดการออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าทางสิ่งแวดล้อม ชีวิตความเป็นอยู่และศิลป์ไปเกือบสิ้นเชิง นับเป็นการทำลาย ความสามารถในการออกแบบของเยาวชนไทย อย่างค่อยเป็น ค่อยไปได้

7. ภูมิปัญญาไทยและศิลป์ของไทยหลายประการ ถูกทำลายโดยนักบริหารหรือผู้ที่มีอำนาจ จากความเชื่อที่ไม่เข้าใจในศิลป มีผลิตผล ออกมาเป็นธูปยักษ์ ผ้าขาวม้ายาวที่สุดในโลก เทียนคอนกรีตสูงเสียดฟ้า เป็นความน่าละอายที่ต้องยอมรับ เพราะการค้าที่จำเป็นต้องพึ่งแฟชั่นที่มาเร็วไปเร็ว ทำให้ศิลป์ไทยขาดความต่อเนื่องและขาดการปรับปรุงให้เหมาะสมกับยุคสมัยแนวความคิดที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ใดที่เป็นที่ยอมรับและสร้างความสนใจจึงขาดฐานความเข้าใจทางการ ออกแบบ ศิลปินไทยจึงไม่เป็นที่ยอมรับ ความคิดสร้างสรรค์เพื่อหาสิ่งใหม่ที่ดีกว่าหรือน่าสนใจกว่าจึงอยู่ในความ คิดและการตัดสินใจของผู้มีอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นผู้มีอำนาจตามอำนาจที่รัฐมอบหมายหรือผู้มี อำนาจเพราะมีผู้เชื่อถือ (เช่นพระสงฆ์) หรือผู้มีอำนาจเพราะมีทรัพย์มาก บุคคลเหล่านี้มิได้มีความลุ่มลึกและความเข้าใจทางศิลป์เพียงพอจึงยึด เรื่อง “ขนาด” ตามระบบวัตถุและทุนนิยมเป็นสำคัญจึงมีผลงานที่ ปรากฎในประเทศไทยมากมายที่ได้เพียงความสนใจ (บางท่านสนใจ ด้วยความชื่นชมแต่บางท่านอาจจะสนใจด้วยความสมเพช) เกิด ปรากฎการณ์ความต้องการที่จะเอาตนเองให้อยู่ในบันทึกของสถิติ ต่างๆ (เช่นในกินเนสบุ๊ค เป็นต้น) กลายเป็นการสร้างรูปจำลองของธูป ขนาดใหญ่มากๆ (เช่นธูปยักษ์ที่จังหวัดนครปฐมซึ่งล้มลงมาคร่าชีวิต ผู้บริสุทธิ์ไปแล้ว) กลายเป็นผ้าขาวม้าขนาดยาวและใหญ่ที่สุดในโลก เกิดการสร้างเทียนพรรษาด้วยคอนกรีตขนาดใหญ่มากกลางเมือง ขาดความงดงามและคุณค่าทางศิลป์อย่างยิ่งปรากฎการณ์เหล่านี้ เป็นปรากฎการณ์ที่ไม่มีประเทศ ใดในโลกนิยมมากเช่นเมืองไทย ประเทศส่วนใหญ่จะสนใจเรื่องความ งามทางศิลป์มากกว่าขนาดใหญ่โต ผู้บริหารและผู้มีอำนาจจะเข้าใจ คุณค่าของศิลป์ มากกว่าขนาดที่เพียงต้องการลงในบันทึกและเพราะ อำนาจที่ขาดความลุ่มลึกเข้าใจเหล่านี้เองเป็นส่วนสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ทำลายภูมิปัญญาศิลป์ของไทยที่นานาประเทศยอมรับไปอย่างสิ้นเชิงผ้าไทยเป็นอีกตัวอย่างของความไม่เข้าใจตลาดและ ขาดความคิดสร้างสรรค์ แม้นโยบายของรัฐบาลไทยในปัจจุบันเรื่อง “หนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล” เป็นนโยบายที่พยายามส่งเสริมให้ท้องถิ่น แต่ละท้องถิ่นผลิตผลิตภัณฑ์ของตนเอง ซึ่งชุมชนต่างๆ มากมาย กระจายทั่วประเทศจะทำการผลิต “ผ้า” และส่วนใหญ่จะเป็นการผลิต โดยการออกแบบดั้งเดิมและเกือบทุกแห่งทั่วประเทศจะมีลักษณะ ลวดลายที่คล้ายคลึงกัน ชาวชุมชนผู้ผลิตมักไม่ค่อยมีรายได้มากขึ้น เนื่องจากเกิดปัญหาอุปทาน (supply) มากกว่าอุปสงค์ (demand) ผลิตภัณฑ์ต้องมีการแข่งขันกันทางด้านราคาการพยายามส่งเสริมด้วย การออกแบบมักคิดเพียงแค่ “ลวดลาย” เท่านั้นและลวดลายที่คิดขึ้น มาใหม่ก็ยังติดอยู่กับลวดลายเดิม เนื่องจากมีข้อจำกัดทางการผลิต ทั้งบุคคลและอุปกรณ์ กรณีตัวอย่างของนายจิม ทอมสัน ผู้นำผ้าไหม ไทยให้มีชื่อเสียงทั่วโลก เป็นการทำความเข้าใจในวัตถุดิบ เข้าใจขบวน การผลิต เข้าใจความต้องการของท้องตลาด และเข้าใจในความ สามารถของผู้ผลิตแล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่า (V.A.D.Value Added by Design) จนทำให้ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิต มีความสุขและความพอใจด้วยกันทุกฝ่าย หรือเพราะนายจิม ทอมสัน เป็นชาวต่างประเทศเขาจึงเข้าใจในการเพิ่มมูลค่าสินค้าของประเทศไทยหนอ

8. องค์กรไทยทั้งรัฐและเอกชนอาจไม่เกื้อหนุนต่อการ สร้างเสริมสะสมความสามารถทางการสร้างสรรค์เพราะการวางแนว ทางของระบบการจัดสรรงบประมาณ เป็นระบบการวัดผลที่ผลิตออก มาจากการใช้เงินแผ่นดินทำให้ต้องการดัชนีที่วัดได้หรือนับได้เพียงทาง วิทยาศาสตร์หรือทางคณิตศาสตร์ การส่งเสริมความสามารถคนไทย หรือธุรกิจไทยด้วยการออกแบบจึงถูกตัดงบประมาณตลอดเวลา เมื่อ เวลาผ่านไปนานเข้า การเพิ่มมูลค่าของสิ่งต่างๆ จึงถูกกำหนดเพียงการ แปรรูปหรือการใส่เพียงเทคนิควิทยาการทางวิทยาศาสตร์เข้าไป เพราะ เห็นผลชัดเจนในเวลาสั้นๆ สามารถวัดหรือนับผลได้ทางคณิตศาสตร์ การเพิ่มมูลค่าด้วยการออกแบบสร้างสรรค์จึงจำเป็นต้องเลือนลางไปนอกจากระบบงบประมาณแล้วหน่วยราชการที่ เกี่ยว ข้องกับการสนับสนุนการออกแบบก็ไปกันคนละทิศคนละทาง เพราะ แม้จะมีหน่วยราชการบางแห่งเล็งเห็นความสำคัญของการเพิ่มมูลค่า สินค้าและการบริการด้วยการออกแบบแต่ลักษณะของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐเองก็กระจัดกระจาย ต่างคนต่างทำ ด้อยบูรณาการหรือส่งเสริม แลกเปลี่ยนกันเท่าที่ควรหน่วยงานเหล่านี้มีอยู่หลายกระทรวง เปรียบ เสมือนแขนงไผ่ ที่แยกกันอยู่ไม่เคยมัดรวมเข้าด้วยกันจึงอ่อนแอเปราะ บางไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งที่ดีและมีพลวัตรเพียงพอที่จะเพิ่มมูลค่า ของสินค้าและการบริการอันมีหลากหลายของประเทศไทยได้ไม่ สามารถต่อประสานข้อมูลและองค์ความรู้ของบุคลากรที่กระจัด กระจายได้ ไม่สามารถจะนำสินค้าที่หลากหลายตามแหล่งต่างๆ มา รวบรวมกันและคิดวางแผนในระบบบูรณาการได้องค์กรเอกชนไทย ไม่เห็นคุณค่าทางการวิจัยและพัฒนา ทางด้านการออกแบบเพราะการลงทุนพัฒนาการวิจัยหรือการออกแบบ เป็นการลงทุนที่สูงและเห็นผลช้า เอกชนส่วนใหญ่นิยมการลอกแบบ หรือการซื้อผลการวิจัย (และผลการออกแบบ) มาใช้มากกว่า เมื่องบ ประมาณของรัฐไม่สนับสนุน เมื่อเอกชนก็ไม่เห็นคุณค่าทำให้แนวความ คิดและความสามารถในการออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าและการ บริการของประเทศไทยไม่เกิดขึ้นหรือที่ได้เกิดขึ้นแล้วหรือที่มีอยู่ แล้วก็จะมีองค์ความรู้ที่ลีบเรียวลงนอกจากนี้แล้วประเทศไทยยังไม่มีมูลนิธิหรือองค์กร ไร้ผลประโยชน์ที่แข็งแรงพอในการสนับสนุนแนวทางส่งเสริมความ สามารถในการออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าและการบริการเกือบ ทุกประเทศที่ประสบความสำเร็จในเรื่อง V.A.D. มักจะมีองค์กรไร้ผล ประโยชน์ (Non Profit Organization) หรือมูลนิธิเป็นผู้นำร่องและ ขับเคลื่อน เนื่องจากในการ “คิด” เพื่อออกแบบเพิ่มคุณค่านั้นจะเสีย “เวลา” และ “งบประมาณ” ค่อนข้างสูงโดยอาจจะยังไม่มี “รายได้” เกิดขึ้น เพราะรายได้หรือผลกำไรจะเกิดขึ้นหลังจากนั้นในองค์กรอื่นๆ (เหมือนการทำ Research & Development) ดังนั้นเหมือนกับเรื่องนี้ ยังไม่มี “เจ้าภาพ” ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือ N.G.O.บ ท ต า ม แ ห่ ง ค ว า ม ห วั งอารมณ์ขันและความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนไทย… สายใยแห่งศิลปิน รากเหง้าที่รอการปักชำ ประเทศไทยยังโชคดีที่ คนไทยนั้นเป็นคนที่มีอารมณ์ขันสูง มีความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนมาก อารมณ์ขัน และบทกวีนิพนธ์เหล่านี้จะสอดแทรกเข้าอยู่ในชีวิตประจำวันของคนไทย ซึ่งอารมณ์ขันและความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนนี้ผู้เกี่ยวข้องจะต้องใช้ จินตนาการทางศิลป์เป็นพื้นฐานจึงเป็นอุปกรณ์ ในการเร่งเร้าให้สมองซีกซ้าย (ที่เป็นแหล่งความคิดสร้างสรรค์) ได้ทำงานอยู่ ตลอดเวลาไม่ลีบเรียวอาจจะเป็นสิ่งบอกเหตุอย่างหนึ่งได้ว่า....ความสามารถทางด้านศิลป์ของคนไทยเรายังคงสะสมเป็นพลังงานศักย์อยู่ หากมีการสนับสนุนและเสริมสร้างสภาวะที่เหมาะสม พลังงานศักย์ที่หยุดนิ่งอยู่อาจจะกลายเป็นพลังงานจลน์ที่ช่วยขับ เคลื่อนการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและการบริการด้วยการ ออกแบบของประเทศไทย….เหมือนรากเหง้าที่รอการ แตกตา แทงราก ฉะนั้นหากประเทศไทย พยายามก้าวจากประเทศเกษตรกรรม ไปเป็นประเทศอุตสาหกรรม แนวความคิดในแง่ของการเพิ่มมูลค่าของ สินค้าถูกจำกัดกรอบอยู่เพียงการแปรรูปของสินค้าด้วยวิธีการทาง วิทยาศาสตร์ หรืออุตสาหกรรมเท่านั้น วิสัยทัศน์ด้านสุนทรีย์จึงยังไม่ จำเป็นที่จะจัดไว้ในกรอบความคิด….อารมณ์ขันไทยอาจเหลือเพียง ตลกบริโภค ความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนไทยคงเหลือเพียงกลอนลามก แดกดันก็เป็นไปได้หนอ

ไม่มีความคิดเห็น: