Google
 

29 มีนาคม 2553

MEDAN - PARAPAT เยือนดินแดนม นุษย์กินคน ทะเลสาบโทบา อภิมหาภูเขาไฟเจ็ดหมื่นปี

MEDAN-PARAPAT

เยือนดินแดนมนุษย์กินคน ทะเล สาบโทบา

อภิมหาภูเขาไฟเจ็ด หมื่นปี

ก่อนอื่นต้องขอแสดงความเสียใจกับชาวเฮติ กับภัยพิบัติอันใหญ่หลวงครั้งนี ถึงแม้จะอยู่ไกลกันคน ละทวีปกับบ้านเรา แต่ข่าวเรื่องแผ่นดินไหวใกล้บ้านเรา ก็ยังคงมีให้เห็น ทำให้ลายคนคุ้นหูและรู้จักดี กับหมู่เกาะสุมาตรา แต่ถ้าถามว่า รู้จักเมดานไห ม๊ หลายคนบอกว่า อยู่ที่ไหนเหรอ รวมทั้ง ตัวผมเอง โอกาสนี้จึงขออาสา พา ท่านผู้อ่านผจญภัยไปด้วยกัน

เดินทางด้วย สายการบินไทยแอร์เอเชีย สายการบินหนึ่งเดียวจากบ้านเราที่บินสู่เมดาน สัปดาห์ละ 3 เที่ยวบินคือ อาทิตย์/พุธ/ศุกร์ จากภูเก็ตประมาณ 1 ชั่วโมงถึงสนามบิน Polonia ของเมดาน ห้าโมงครึ่งเราถึงสนามบินเมดาน เปรียบเทียบได้ทันทีว่า เก่าว่าสถานีหัวลำโพงบ้านเราเสียอีก ที่นั่งของเจ้า หน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองนั้น มี 3 ช่อง และเหมือนบันลังค์ผู้พิพากษา อันตัวเรานี้ก็คงต้องเป็นจำเลยสินะ เมื่อคณะพากันเดินออกจากประตูทางออก และเดินไปขึ้นรถบัส ก็พบเห็นเด็กๆ ๔-๕ คน ทั้งชายหญิง อายุประมาณ ๘-๑๒ ปี เดินตามขอเงินคล้ายๆชายแดนไทย-เขมร เป็นภาพที่เห็นแล้วสามารถวิเคราะห์ ถึงสภาพเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของที่นี่ได้ไม่ยากนัก

เมืองเมดาน (Medan) เป็นเมืองหลวงบนเกาะสุมาตราตอนเหนือของ อินโดนีเซีย มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ต้นค.ศ.16 ก็ร่วม 400 ปี เป็นศูนย์ กลางการค้าและท่าเรือสินค้า ประชากร 2 ล้านคนมีเศรษฐกิจดีเป็นอันดับ 3 รองมาจากเมืองจา กาตาร์และเมืองุราบายา ได้ชมบางส่วนของเมืองผ่านกระจก รถบัสนำเที่ยวที่มุ่งสู่ ทะเลสาบโทบา เมือง PARAPAT ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองเมดานเป็นระยะทางประมาณ ๑๗๐ กิโลเมตร ในเมืองเมดานถนนคับแคบมาก สังเกตุเห็นตึกรามบ้าน ช่องส่วนใหญ่มีลักษณะเก่าและแออัด ดูปกปิดมิดชิด แม้ถนน เส้นนี้จะเป็นถนนหลักของเกาะสุมาตรเหนือ แต่ก็คับแคบแบบถนน ๒ เลน ไม่มีเกาะกลางและทางเท้า ถนนนอกเมืองแออัดไปด้วยรถบรรทุก ที่วิ่งสวนกันด้วยความเร็ว บวกกับความโค้ง ชัน คับแคบ และขรุขระ เสียงบีบแตรเป็นเรื่องปรกติ โดยเฉพาะรถนำเที่ยว บีบแตรได้ตลอดเวลา

ตลอดเส้นทางจะพบเพิงร้านค้าของชาวบ้านวางขายผักผลไม้ และที่ขาดไม่ได้คือ น้ำดื่มบรรจุขวดซึ่งไม่ต้องกลัวว่าจะหา ซื้อยากแม้จะอยู่ท่ามกลางป่าเขา เราไต่ระดับความสูงขึ้น เรื่อยๆ จนขณะนี้ สามทุ่ม อาหารเย็นและเป็นมื้อแรกยังไม่ตกถึงท้อง และแล้วเราก็มาถึงโรงแรม แกรนด์ มูทาร่า โรงแรมสี่ดาว บรรยากาศดี ติดเชิงเขา สิ่งแรกที่เราต้องทำก็คือขอเติมพลัง ก่อนเลย แล้วค่อยลุยต่อวันพรุ่งนี้

เช้า นี้เราเดินทางออกจากโรงแรมไม่ไกลนักเราก็ถึงเมือง Brastagi เมืองต่ากอากาศในพื้นที่สูง อีกเมืองหนึ่ง ซึ่งจากการสังเกต เป็นเมืองใหญ่ระดับจังหวัดในบ้านเรา และเมื่อรถบัสไปจอดที่ตลาดนัด BKT.Gundang เพื่อ จอดแวะให้เราเดินชมและซื้อหา ผลไม้หรือสินค้าในตลาดการเกษตร ซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่ก็เหมือนบ้านเรา เช่น ทุเรียน มังคุด ส้มแป้น และพืชพักสวนครัว ระกำอินโดฯ และพันธุ์ไม้ประดับที่แปลกๆ แต่แปลกอีกอย่างก็คือ ปกติบ้านเราจะได้เห็นทุเรียนมังคุดช่วงฤดูร้อน แต่ตอนนี้มันฤดูหนาวกลับเป็นฤดูผลไม้ประเภททุเรียน และมังคุด ของเมืองนี้ซะแล้ว แต่เรื่องความสด สวย น่ากินสู้ผลไม้บ้านเราไม่ได้แน่นอน

ระหว่างที่ออกจาก Brastagi บรรยากาศเหมือนทางเหนือของไทย ที่ปลูกพืชในที่สูง ดินอุดมสมบูรณ์มาก เพราะมาจากตะกอนภูเขาไฟที่มีจำนวน มาก ประกอบกับอยู่บนที่สูง อากาศเย็น ความชื้นสูงฉะนั้นการปลูกพืชผักที่ นี่จึงเป็นไปโดยธรรมชาติ ไม่ต้องใส่ปุ๋ย ไม่ต้องรดน้ำ แต่ละชุมชน บ้านทุกหลัง จะปลูกพืชผักไว้หน้าบ้าน เหมือนบ้านเราที่นิยม ปลูกไม้ประดับ จัดสวน หรือปลูกหญ้าที่สนามหญ้าหน้าบ้านยังไงยัง งั้น

เราผ่านชุมชนแล้วชุมชนเหล่า ประมาณ หนึ่งชั่วโมงเราก็ถึงน้ำตก Sipiso – Piso ซึ่งเป็นน้ำตกที่สูง มากถึง ๑๑๐ เมตร โดยเป็นลักษณะน้ำตกจากหน้าผา จุดนี้จะสังเกตุเห็นความชัดเจน ในเรื่องการยุบลงของแผ่นดินด้านข้างของภูเขาไฟ ซึ่งนัก ธรณีวิทยาเรียกหลุมที่เกิดจากการระเบิดของ Supervolcanoes ว่า Caldora และ เมื่อเกิดการระเบิดครั้งต่อๆมา ก็จะทำให้บริเวณด้านข้างภูเขาไฟยิ่งยุบ ตัวลง จุดนี้เราสามารถมองเห็นวิวทั้งน้ำตกและทะเลสาบโทบา ได้ ในขณะเดียวกัน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามและเป็นจุด เด่นของบริเวณรอบทะเลสาบแห่งนี้

เราเดินทางต่อไปที่เมือง PARAPAT ระหว่าง ทางเราได้แวะชมบ้าน ซิมาลากันบาตักหรือที่เรียกว่า “Simalungun Batak Long House”ตั้งอยู่ที่ราบสูง Karo ห่างจากเมดาน 140 กิโลเมตร เป็นบ้านที่ยาวที่สุดในโลก มีอายุ 200ร้อยปี เป็นพระราชวังของกษัตริย์ ที่มีภรรยาถึง 24 คน เมื่อก่อนล่ำลือว่า ชาวท้องถิ่นแถบนี้เป็นชนเผ่ากินคน ซึ่งก็เป็นความจริงส่วนหนึ่งเนื่องจาก คนที่ถูกนำมากินนั้น เป็นบุคคลที่กระทำความผิดร้ายแรงซึ่งต้องโทษประห าร เมื่อประหารเสร็จ เพชรฆาตรจะนำเลือดของนักโทษนั้นมาให้กษัตริย์ดื่ม ซึ่งมีความเชื่อว่า เลือดนั้นเป็นสิ่งมหัศจรรย์สามารถเพิ่มพลังเวทย์ให้แก่ร่างกายได้ ชิ้นส่วนที่นำมากินนั้นคือส่วนมือเท่านั้น ซึ่งเชื่อกันว่าทำให้มือของผู้กินมีกำลังวังชามากขึ้นในการใช้ดาบ ต่อสู้ กับศัตรู แต่หลังจากที่ชาวฮอลันดาได้เข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนา แ ละวัฒนธรรมตะวันตก ทำให้ ความเชื่อดั้งเดิมสูญหายไปในที่สุด ไม่มีสงครามเกิดขึ้น และไม่มีการนำเนื้อคนมากินอีกเลย

เมื่อเราเข้าเขต เมืองปาราปัท ตั้งอยู่ริมทะเลสาบโทบา รู้สึกได้ว่ารถบัสกำลังลัดเลาะ ไต่บนเทือกเขา บนถนนที่คับแคบ และคดเคี้ยว บางช่วงมีร่องรอย ของต้นไม้ริมทางโค่นลงมาขวางทาง แต่โชคดีที่มีการเลื่อยเก็บออกไป แล้ว ระหว่างทางมองเห็นทิวป่าสน ที่ดูเก่าแก่ ดึกดำบรรพ์ บวกกับวิวทะเลสาบตลอดทาง ถนนบนเขาแบบนี้กลับมีรถวิ่งสวน ทางและขึ้นแซงตลอด สวนกันแต่ละครั้งหางกันไม่เกิน 1 ฟุต ความ เร็วของรถคงที่ แต่เสียงแตรเริ่มถี่ขึ้นเรื่อยๆ แสดงว่าทางข้างหน้าเป็นทางโค้งอีกแล้ว

จาก Brastagi เราใช้เวลาหลายชั่วโมงชั่วโมง แล้ว จนทุกคนรู้สึกเหนื่อยล้าและอ่อนเพลีย อยากไปถึงให้เร็วที่สุด เนื่องจากระยะทางได้ยืดมื้อเที่ยงของเรา มาจนถึงหกโมงเย็นที่เมือง PARAPAT โดย ไกด์พาเราเดินปรี่ไปที่ร้านอาหาร HONGKONG หน้าตาอาหารก็ดูดีน่ารับประทาน ไก่กอแระแห้งๆ แกงจืดไข่กะหล่ำปลีซอย ปลาราดพริก ผัดผัก ส่วนรสชาติก็พอใช้ได้ แม้จะเทียบกับรสชาติอาหารบ้านเราไม่ได้ก็เถอะ แต่ก็ทำเอาคณะเราส่วนใหญ่พอใจได้ระดับหนึ่ง เพราะวินาทีนี้ไม่มีอะไรจะอร่อยเท่านี้อีกแล้ว

พออิ่มเราก็เดินเมืองชมแถบท่าเรือ บ้านเรือนตลอดเส้นทางก็แออัดติดกันเป็นพรืด ลักษณะเป็นบ้านไม้เก่าๆแบบฉบับศิลปะตะวันตกเหมือนประเทศที่ตกเป็น อานานิคมของชาติตะวันตกทั่วไป ร้านอาหารทั่วไปจัดเรียงไว้ในตู้โชว์ หน้าร้านหน้าตาน่ากิน มีโบสถ์คริสต์ สลับกับมัสยิดตลอดเส้นทาง

ประมาณครึ่งชั่วโมงเราก็นั่งรถไต่ขึ้นเขาอีกครั้ง เพื่อเข้าพักที่ Nigala Hotel ที่ตั้งอยู่บนปากปล่องภูเขาไฟ สามารถชมวิวทะเลสาบบนมุมสูง และชมวิวทิวเขาที่ทอดยาว ซ้อนกันรอบทะเลสาบโทบา ยิ่งยามเย็น อย่างนี้พระอาทิตย์ลับเหลี่ยมเขา แสงสุดท้ายสาดใส่กลุ้มเมฆเหนือทะเลสาบ เป็นบรรยากาศที่สุดแสนโรแมนติก ใครได้มานอนที่นี่รับรองนอนฝันดีทุก คืน

Lake Toba

เช้านี้เราเตรียมตัวไปสัมกับทะเลสาบ โทบา (Lake Toba) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อตาม ภาษาบาตักเรียกว่า Danau Toba จากโรงแรมลงเขาไปไม่ กี่นาทีเราก็ได้ลงเรือเฟอรี่เพื่อชมบรรยากาศของทะเลสาบโทบา เหนือปากปล่องภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว ติดอันดับ 10 ของโลก เกิดจากการระเบิดแบบซูเปอร์ภูเขาไฟ (supervolcano) เมื่อ 74,000 ปีมาแล้ว และลาวาที่ทะลักออกมาด้วยความ เร็วสูง และหมดไปอย่างรวดเร็ว การยุบตัวลงของโครงสร้างด้านในของแหล่ง Magma ในก้นหลุม ทำให้เปลือกโลกที่อยู่ข้างบนยุบตัว ลงไป เกิดเป็นหลุมขนาดยักษ์ กลายเป็นทะเลสาบโทบา มี เนื้อที่ 1,645 ตารางกิโลเมตร อยู่สูง 906 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีความยาวยาวของทะเลสาบกว่า 100 กิโลเมตร กว้าง 30 กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 450 เมตร จุดที่ลึกที่สุด มีความลึกถึง 505 เมตร บนผิวน้ำมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางกว่า ๑,๔๐๐ เมตร เพราะพื้นที่บนภูเขาลูกนี้มีความสูงจากระดับน้ำ ทะเลว่า ๑,๗๐๐ เมตร

การระเบิดของซูเปอร์ภูเขาไฟ แน่นอนว่ามันรุนแรงมากกว่าแรงระเบิดของภูเขาไฟธรรมดาหลายร้อยเท่า ได้พ่นเถ้าถ่าน และก๊าซพิษจำนวนมหาศาลขึ้นไปปกคลุมในชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกครั้งใหญ่ สร้าง หายนะครั้งใหญ่ฝากไว้กับโลก จากความน่ากลัว ธรรมชาติได้ ใช้เวลาค่อยๆ รังสรรค์ให้กลายเป็นทะเลสาบกว้างใหญ่ที่แสนงามเป็นมรดก ให้กับโลกจนถึงวันนี้

เราล่องเรือชมทิวทัศน์ได้สักพัก มีเด็กๆพื้นเมือง4-5 คน มาร้องเพลงพื้นเมืองให้ฟัง โดยมีกีต้าโปร่ง และกลองเล็กๆ เคาะ ประกอบจังหวะ ซึ่งสามารถประสานเสียงได้น่าฟัง คำร้องทำนองคล้ายๆกับเพลงแร็คเก้ จังหวะน่าขยับแข้งขยับขาที่เดียว สนุกกับเสียงเพลงไม่นานก็มาถึงเกาะ Samosir

Samosir

ล่องทะเลสาบโทบาประมาณ 40 นาที มาถึงเกาะ Samosir ถึงเกาะ เที่ยวชมชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเผ่า Batak Tobanese ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมือง เราเดิน เลาะเลี้ยวเป็นระยะทางประมาณ 500 เมตร มาชมบ้านของชาว "บาตัก" มีลักษณะพิเศษตรงที่การออกแบบรูปหลังคาลักษณะรูปทรงคล้ายเรือ ยก พื้นสูง จั่วแหลมๆ แกะสลักเขียนลายสวยงาม สีที่ใช้เน้นสีดำ ขาว แดง ส่วนบริเวณกลางหมู่บ้านมีที่ชุดนั้งประชุมเป็นหินสะกัดทั้งแท่งตั้ง กลางหมู่บ้าน ตรงข้ามกันก็มีโบสถ์คริสต์นาดย่อม ทราบว่า ชาวดัตซ์เป็นผู้นำมาเผยแพร่ร้อยกว่าปีที่แล้ว

เมื่อ คณะเราเข้าไปนั่งบริเวณศาลาที่ทำไว้เพื่อชมการสาธิตการลงโทษของ เผ่า ที่มีกฎเผ่าข้อหนึ่งว่า ใครที่ผิดลูกผิดเมียผู้อื่น หรือเป็นชนเผ่าศัตรู จะถูกมัด บิดตา และนำตัวมาวางบนโต๊ะหินตรงกลางลาน ประหารเพื่อ ควักเครื่องในสดๆ เอาไปกิน ก่อนจะตัดหัวไปแช่ในทะเลสาบ ๗ วัน โดยระว่างนั้นห้ามทุกคนนำน้ำไปกินและไปใช้ ซึ่ง จากการสังเกตุอุปกรณ์ และเครื่องมือทั้งหมดในบริเวณ น่าจะโดนสังเวยในลักษณะนี้หลายร้อยหลายพันชีวิต เนื่องจากเกิดสงครามระหว่างเผ่า และการรุกรานจากบุคคลภายนอกมาตลอด ๔๐๐ ปี

เราใช้เวลา ประมาณ ๓๐ นาที เราเดินออกมาอีกทาง ซึ่งต้องผ่านร้านค้าชาวพื้นเมือง เช่น ตุ๊กตาสลักจากไม้ พิณไม้ รองเท้าสาน เสื้อผ้าปาเต๊ะ ของที่ระลึกต่างๆ ราคาถูกมาก แต่ต้องต่อราคาลงก่อนสัก 50% โดยใช้เงินรูเปียร์ และควรแลกทันทีที่อยู่สนามบิน ระหว่างเดินซื้อสินค้า ความรู้สึกตอนเดินเข้ากับเดินออก ต่างกันลิบลับ เพราะตอนเข้าไม่รู้เรื่องราวอะไร แต่ หลังจากได้ฟังและชมพิธีกรรมการประหาร ขากลับออกมา จินตนาการต่างๆ เต็มหัวไปหมด เริ่มสังเกตหน้าตาของชนพื้นเมือง ว่าค่อนข้างดุ ดูล้ำสั้น น้อยนักที่จะเห็นรอยยิ้ม ถ้าเติมรอยยิ้มที่ใบหน้าอีกนิดคง ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าแน่ๆ เพราะคนไทยเราชอบรอยยิ้ม

กลับขึ้นเรืออีกประมาณ 15 นาที เรามาถึงหมู่บ้าน Tomok เพื่อชมสุสาน Raja Sidabutar สุสาน ๒๐๐ กว่าปี สุสานตระกูลราชาจอมขมังเวทย์ มีเวทมนต์คาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่หวั่นเกรงของชาวเกาะ Samosir ทั้งมวล สุสานนี้ตั้งอยู่บนเนินเล็กๆ มีซุ้มประตูที่มีลักษณะเฉพาะ โดยแกะสลักรูปจิ้งจกอยู่ทั่วบริเวณ เป็นสัญลักษณ์ที่มาย ถึงการปรับตัว เพื่อให้ยู่ด้วยกันด้วยความสามัคคี ปรองดอง จึงกลายเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวของหมู่บ้าน Tomok

ระหว่างทางขึ้นจะมีชาวพื้นเมืองแจกผ้าสไบพาดบ่าที่ ถักทอเองด้วยฝีมือของชาวพื้นเมืองดูสวยงามหลากสี ที่เป็นธรรมเนียมท้องถิ่นสำหรับผู้เข้าเฝ้าราชา Raja Sidabutar และเครือญาติทั้งที่เป็นเด็กและผู้ใหญ่รวม ๑๐ คน ต่างยุคต่างสมัยประมาณ ๓-๔ ชั่วอายุคน ตั้งแต่ยังนับถือกราบไหว้ ภูติผี ไสย ศาสตร์สามารถควบคุมดินฟ้าอากาศ เรียกฝน เรียกพายุเป็นที่หวาดกลัวของ ชนเผ่าบนเกาะทั้งหมด ในยุคสมัยหลาน ชาวชาวดัตช์ ที่เข้ามาล่าอาณานิคมในหมู่เกาะอินโดนีเซีย ก็ได้เข้า นับถือศาสนาคริสต์ ดังจะเห็นหลักฐานไม้กางเขนที่สุสาน แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งจิ้งจกอันเป็นสัญลักษณ์ ความเชื่อของชนเผ่าอย่างมั่นคง

ตลอดเส้นทางจาก MEDAN-PARAPAT แม้จะยากลำบากบ้าง แต่ ยังถือว่าเล็กน้อยเมื่อเที่ยบกับความยิ่งใหญ่และความสวยงามของ ธรรมชาติ ที่เราได้มาสัมผัส และสิ่งที่จะยังคง เหลือไว้ในความทรงจำของเรา ก็คงจะมีแต่ความประทับใจที่ เต็มเปี่ยม

ไม่มีความคิดเห็น: