Google
 

31 มีนาคม 2553

ทำไม...ใครๆก็อยากเป็น'มรดก โลก'


อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยหนึ่งในคุณค่ามรดกโลกของไทย
กรณีการยื่นเสนอเป็นมรด กโลกของ 'ปราสาทเขาพระวิหาร' อันลื่อลั่นสะท้านเขตแดน ไทย-กัมพูชา นั้น แม้จะมีปัญหาดั่งไฟสุมขอนอันร้อนระอุอยู่ก็ตาม แต่หากตัดเรื่องปราสาทเขาพระวิหารออกไปแล้ว จะพบว่าในบ้านเรา ยังมีสถานที่ที่รอยื่นขอเป็นมรดกโลกอีกมากมายหลายแห่ง ทำให้เกิดคำถามคาใจคาใจอยู่ว่า การเป็น 'มรดกโลก' ดีเด่นอย่างไรกัน ใครต่อใครจึงแสวงหากันนัก

ด่านหิน พิชิตมรดกโลก

ก่อน อื่นมารู้จักหน่วยงานที่ให้ค่ามรดกโลกกันเสียหน่อย องค์การ ศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยเล็งเห็นว่า สันติภาพที่เกิดจาก การตกลงทางการเมือง ทางเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่แท้จริงและยืนนาน จากประเทศชาติต่างๆ ในโลก สันติภาพจะต้องวางรากฐานอยู่บนความร่วมมือ ทางภูมิปัญญา และจิตสำนึกของมนุษยชาติ

อยุธยามรดกโลกที่มีปัญหามากแห่งหนึ่งของไทย
จึงเป็นที่มาของมรดกโลก ความหมายของ มรดกโลก (World Heritage) คือ สถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต

ขั้นตอนการเสนอชื่อสถานที่ ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจาร ณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน

บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออ ยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจาก บัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการ จัดทำแฟ้มข้อมูลนี้


หม้อไห ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในบ้านเชียง
เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดีและสหภาพ สากลเพื่อการอนุรักษ์ แล้วทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะ กรรมการมรดกโลก

ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้น ทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถาน ที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ

ตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นมรดกโลก มีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ทั้งหมด 6 ข้อสำหรับมรดกโลกทางวัฒนธรรม และ 4 ข้อสำหรับมรดกโลกทางธรรมชาติในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก

คณะ กรรมการมรดกโลกจะมีการประชุมร่วมกันหลายครั้งในแต่ละปี เพื่ออภิปรายถึงแผนการจัดการเกี่ยวกับแหล่งมรดกโลกที่ยังคงอยู่ และรับรายชื่อสถานที่ที่ประเทศต่างๆเสนอให้ได้รับการพิจารณาให้ ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และจะมีการประชุมครั้งหนึ่งที่เรียกว่า การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ (World Heritage Committee Session) ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่ได้รับการ เสนอชื่อแห่งใดที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ


เขาใหญ่มรดกโลกทางธรรมชาติ 1 ใน 2 ของไทย
ยาวเหยียด รอคิวขึ้นแท่น

ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานที่ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็น มรดกโลก 5แห่ง แบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 3แห่ง คือ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร (สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร)มรดก โลกปีพ.ศ.2537 ,อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร มรดกโลกปี พ.ศ.2534 ,แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี มรดกโลกปีพ.ศ.2535 และมีมรดกโลกทางธรรมชาติ 2 แห่ง คือที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง มรดกโลกปีพ.ศ.2534 และผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ มรดกโลกปีพ.ศ.2548

นอกจากนี้ยังมี ว่าที่มรดกโลกแห่งใหม่อีก 2 แห่ง ที่อยู่ในระหว่างการเสนอชื่อรอบสุดท้ายรอการเข้าสู่การขึ้นบัญชี ประกาศเป็น มรดกโลก ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จ.อุดรธานี และเส้นทางสายราชมรรคคา เส้นทางที่เชื่อมทางวัฒนธรรมปราสาทหินพิมาย เชื่อมปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ และกลุ่มปราสาทตาเมือน อีกทั้งยังมี อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ที่เตรียมเป็นตัวเต็งอยู่ในอันดับต้นๆที่ เรามีสิทธิ์ลุ้นขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ของไทย

แต่ดูเหมือนว่ามรดกโลก5แห่ง และว่าที่อีก 2 แห่ง จะน้อยไปสำหรับเมืองไทย ด้วยเหตุนี้ทางกระทรวงวัฒนธรรมจึงมอบหมายให้สำ นักโบราณคดี กรมศิลปากร ดำเนินการรวบรวมข้อมูลของแหล่งมรดกทาง วัฒนธรรมที่กำลังเตรียมเสนอเข้าสู่ บัญชีรายชื่อเบื้องต้นของยูเนส โก (Tentative list) เพื่อนำเสนอเป็นมรดกโลกแหล่งใหม่ของไทย มีจำนวน 7 แห่ง ได้แก่


อนุสาวรีย์ สืบ นาคะเสถียร สัญลักษณ์สำคัญแห่งมรดกโลกห้วยขา แข้ง
1.เส้นทางวัฒนธรรมศรีวิชัย ไชยา - นครศรีธรรมราช – สทิงพระ – ยะรัง และ เคดาห์ ประเทศมาเลเซีย 2. แหล่งวัฒนธรรมล้านนา( ความสัมพันธ์พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ของ จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ จ.น่าน และจ.ลำพูน)3. แหล่งโบราณคดีเมืองเก่าเชียง แสนและสุวรรณโคมคำ จ.เชียงราย และเมืองบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

4. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา 5. กลุ่มสถาปัตยกรรมของสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ 6. พระบรมธาตุ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ วัดพระบรมธาตุ จ.นครศรีธรรมราช 7. องค์พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม เพื่อนำสู่ที่ประชุมอนุกรรมการมรดกทางวัฒน ธรรมเพื่อพิจารณาเห็นชอบในหลักการ และคุณสมบัติของการเสนอเป็นมรด กโลก ก่อนที่จะเสนอให้คณะอนุกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้ม ครองมรดกโลกด้าน วัฒนธรรมพิจารณาเข้าที่ประชุมยูเนสโกต่อไป

ไม่เพียงเท่านั้นที่ประชุมยังได้มีการเสนอแหล่งม รดกทางวัฒนธรรม อีก 2 แห่ง ได้แก่ แหล่งภาพเขียนสี ผาแต้ม จ.อุบลราชธานี และ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งทางจังหวัดได้ขอเสนอเข้าสู่ศูนย์ มรดกโลกเพื่อพิจารณาก่อนเข้าบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative list) ที่จะเสนอเข้าสู่การเป็นมรดกโลก ซึ่งสถานที่เหล่ายังไม่นับรวบบัญชีราย ชื่อเบื้องต้นเดิมที่มีอยู่แล้วอีกหลาย10 แห่ง


ภูพระบาท ว่าที่มรดกโลก เมืองอุดร
สโรช รัตนมาศ วัฒนธรรมจ.น่าน ซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดที่พยายามผลักดันให้น่านได้รับการ เสนอเป็นมรดกโลก กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า สำหรับเมืองน่านเอง ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการดำเนินงาน ยังมีอีกหลายส่วนที่ยังไม่เรียบร้อย ข้อมูลด้านวิชาการก็ยังไม่สมบูรณ์ ยังต้องมีการทำประชาพิจารณ์กับประชาชน คนน่าน ถึงความเข้าใจในการเป็นมรดกโลกด้วย

แต่แม้เรื่องการเป็นมรดกโลกจะยังอีกยาวไกลทางจังหวัด น่านก็ไม่ย่อท้อ โดยขณะนี้ได้ส่งเรื่องรูปแบบอาคารสถาปัตยกรรมบริเวณหัวแหวน เมืองน่าน เข้าชิงรางวัลอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก จากองค์การยูเนสโก ซึ่งเป็นรางวัลเดียวกับที่ตลาด สามชุก จ.สุพรรณบุรีได้รับเมื่อปีที่แล้ว

“โดยรางวัลนี้มีขั้นตอนในการพิจารณาไม่ยุ่งยากเท่าเมือ งมรดกโลก เราจึงมีความหวังสูง ซึ่งการเสนอแบบนี้หากได้รับการพิจารณา ได้รับรางวัล ก็จะทำให้ง่ายต่อการยื่นเสนอขอเป็นเมืองมรดกโลกมากยิ่งขึ้น” สโรช วัฒนธรรมจ.น่านกล่าว

และเมื่อถามว่าเป็นเมืองมรดกโลกดีกว่าเมืองที่ไม่ ได้เป็นอย่างไร สโรช ชี้แจงให้ฟังว่า การเป็นมรดกโลกมีข้อดีคือเรื่องบ ประมาณในการควบคุมดูแลแหล่งมรดกโลกที่จะมีงบบำรุงทุกปี ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้คนเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งที่ มีอยู่มากยิ่งขึ้น มรดกโลกจึงเป็นเพียงเป้าหมาย ให้ทุกคนเห็นความสำคัญของสิ่งที่บรรพบุรุษสร้างไว้ เป็นกุศโลบายประการหนึ่งเท่านั้

อันดามัน มรดกโลกทางทะเลแห่งแรกของไทย

เช่น เดียวกันความเห็นของ ดร.ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง จากศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) หนึ่งในผู้มีส่วนผลักดันทะเลอันดามัน สู่มรดกโลก ที่กล่าวถึงผลดีของการเป็นมรดกโลกให้ฟังว่า

“เราสามารถใช้มรดกโลกเป็นเครื่องมือให้ภาครัฐหันมา สนใจเรื่องการอนุรักษ์ได้ ทั้งยังเป็นโอกาสดีที่จะเก็บสิ่งสวยงามไว้ ให้อยู่กับเราได้นานที่สุด เมื่อเป็นมรดกโลกรัฐจะไม่ทำโครงการที่ มีผลกระทบต่อมรดกโลกเพราะมีอนุสัญญาว่าด้วยป้องกันมรดกโลกคุ้ม ครองอยู่ ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อประมงพื้นบ้าน”

ดร.ศักดิ์อนันต์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ดีการเป็นมรดกโลกก็ยังมีข้อเสียเช่นกัน เช่นเมื่อเป็นแล้วขาดการจัดการที่ดี เน้นแต่ขายเรื่องท่องเที่ยวจน ทรุดโทรม ในจุดนี้จากการลงสำรวจพื้นที่กับชาวบ้านเราพบว่าพวกเขายังเป็นกังวล อยู่บ้างเหมือนกัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องไปพูดคุยว่าการเป็น มรดกโลกสร้างอะไรแก่พวกเขา ภาครัฐต้องทำแผนประชาสัมพันธ์กระตุ้น ให้คนในชาติสนใจเรื่องมรดกโลกโลกด้วย

ปราสาทเมืองต่ำ หนึ่งในเส้นทางสายราชมรรคคา ว่าที่มรดกโลกแห่งใหม่
“ในส่วนของอันดามันเอง ตอนนี้เราก็เป็นหนึ่งในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เช่นกัน ซึ่งเชื่อมั่นว่าทะเลบ้านเราโดดเด่นในระดับสากล พวกเรามีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องขั้นตอนขณะนี้อยู่ในระหว่าง การทำแผนการจัดการพื้นที่จะครอบคลุมพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 18 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี หมู่เกาะพยาม แหลมสน เขาหลัก-รำลู่ เขาลำปี-หาดท้ายเหมือง อ่าวพังงา หมู่เกาะสุรินทร์ สิมิลัน สิรินาถ หาดเจ้าไหม หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี หมู่เกาะลันตา เกาะเภตรา ทะเลบัน ตะรุเตา ธารโบกขรณี หมู่เกาะระ-เกาะพระทอง และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะ ลิบง รวมทั้งพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่งในฝั่งอันดามัน ที่จะเสนอเป็นมรดกโลกร่วมกัน”

ดร.ศักดิ์อนันต์ อธิบายต่อว่า จากนั้นก็จะส่งข้อมูลให้กรมอุทยานของไทย แล้วจึงทำการจะส่งให้กรรมการ มรดกโลกไทย ซึ่งไม่แน่ใจว่าเรื่องจะต้องถูกส่งเข้าสู่สภาด้วยหรือเปล่า เพราะตอนนี้ขั้นตอนการเป็นมรดกโลกยุ่งยากกว่าเดิม แต่กระบวนต่างๆทางคณะทำงานจะต้องแล้วเสร็จก่อนเดือนกันยายนปี 53แน่นอน

“เราใช้หลักยุทธศาสตร์อันดามันในการดำเนินงาน อย่างจุดไหนที่มีปัญหาเช่น หลีเป๊ะ ก็ตัดออก ที่ซึ่งมีเอกชนรุกที่บนหาดเจ้าไหม เราก็ตัดออก เหลือแต่ส่วนของทะเลเพราะมีพะยูน ต้องเข้าใจว่าการเสนอครั้งนี้พื้นที่ทางทะเลไม่ได้ติดต่อกัน แต่เราอาศัยการผูกเรื่องด้วยความเป็นอันดามันให้เป็นเรื่องเดียว กันแต่กว่าจะทราบผลส่งถึงยูเนสโกว่าเราจะได้เป็นมรดกโลกทางทะเล แห่งแรกของไทยหรือไม่ก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี”ดร.ศักดิ์อนันต์กล่าวทิ้งท้าย

อย่างไรก็ตามจากการขอเป็นมรดกโลกเพิ่มในหลายพื้นที่ นั้น คงไม่สำคัญเท่ากับการปลูกฝังให้คงในชาติรู้จักรักและหวงแหนสมบัติ ของชาติตน รวมถึงพยายามดูแลรักษาแหล่งมรดกโลกเดิมไว้ให้ดีที่สุด เพราะปัจจุบันมรดกโลกบางแห่งในเมืองไทยเริ่มถูกวิจารณ์ว่า ไม่ได้รับการดูแล การดำเนินการ และการจัดการ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่าที่ควร ส่งผลให้มีสภาพเสื่อมโทรม ไม่น่าดู จนอาจจะนำไปสู่การถอดถอนในอนาคตได้ถ้ายังปล่อยทิ้งไว้ อย่างนี้

ไม่มีความคิดเห็น: