Google
 

29 มีนาคม 2553

ท่องแอฟริกาใต้ (1)

นับจากนี้อีกเพียง 3 เดือน พวกเราที่ชื่นชอบเกมส์ลูกหนัง จะได้สะอกสะใจกับมหกรรมฟุตบอลคร
ั้ง ยิ่งใหญ่ที่สี่ปีจะเวียนมาสักหน สำหรับครั้งนี้ แอฟริกาใต้ รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพ ในระหว่างวันที่ 11 มิถุนายน – 11 กรกฎาคม เผอิญผมเคยไปประเทศนี้หลายครั้ง จึงอยากทำตัวเป็นไกด์ พาคุณไปเตรียมใจดูฟุตบอลล่วงหน้

ก่อนจะมุ่งตรงไปแอฟริกาใต้ เรามารู้จักภาพรวมกันสักนิด แอฟริกาคือทวีปใหญ่เป็นอันดับสองของโลก พื้นที่ 30,300,000 ตารางกิโลเมตร มีประชากรไม่ต่ำกว่า 800 ล้านคน เต็มไปด้วยชนเผ่าต่าง ๆ มาอยู่รวมกัน มีภาษาท้องถิ่นนับพัน ปัจจุบันแบ่งเป็น 53 ประเทศ ภูมิประเทศในทวีปแบ่งเป็น 2 เขต ตอนเหนือเป็นที่ตั้งของทะเลทรายใหญ่สุดในโลก Sahara ครอบคลุมหลายดินแดน เช่น อียิปต์ ลิเบีย ทั้งวิวทิวทัศน์และวิถีผู้คนคล้ายคลึง กับเขตตะวันออกกลางของทวีปเอเชีย

จากแอฟริกาเหนือลงสู่ตอนกลาง ภูมิประเทศเปลี่ยนไป กลายเป็นที่ราบสูงและทุ่งหญ้าสะวันนา เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานา กลายเป็นภาพของแอฟริกาที่คุ้นตาคนทั่วโลก พื้นที่เหล่านั้นส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตประเทศ Kenya Tanzania และ Uganda ยังอาจรวมประเทศเล็กๆ เช่น Zaire และ Rwanda ที่มีป่าดิบชื้นเป็นแหล่งอาศัยของกอริลล่าภูเขา

ลงมาทางใต้ เริ่มเข้าสู่เขตอบอุ่น แต่สภาพภูมิประเทศยังคล้ายเดิม บางพื้นที่แห้งแล้งจนถึงขั้นมีทะเลทราย เช่น Namibia บ้างเป็นทุ่งหญ้าสะวันนากว้างใหญ่เชื่อมต่อมาจากทาง เหนือ เช่น Botswana Zimbabwe และ Zambia เรื่อยลงไปจนถึงแอฟริกาใต้หรือ Republic of South Africa ที่อยู่ทางใต้สุดของทวีป

แอฟริกาใต้มีพื้นที่กว่า 1.2 ล้านตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าเมืองไทยเกิน 2 เท่า ดินแดนแสนกว้างทำให้มีภูมิประเทศหลากหลาย แต่พอแบ่งได้เป็น 2 เขต ส่วนแรกเป็นเขตแห้งแล้งและที่ราบสูง ตลอดจนเทือกเขา อยู่ทางตอนเหนือและตอนกลางของประเทศ ยอดเขาสูงสุดของประเทศชื่อ Njesuthi (3,408เมตร) ก็อยู่ในบริเวณนี้ อีกส่วนคือเขตชุ่มชื้นและที่ราบตามชายฝั่งทางใต้ สุดท้ายปลายทวีปคือแหลมสุดโด่งดังชื่อ Good Hope

แอฟริกาใต้อยู่ในซีกโลกใต้ ภูมิอากาศตรงข้ามกับเมืองไทย ยิ่งลงใต้ยิ่งหนาว ฤดูกาลก็สลับกัน ในช่วงเดือนมิถุนายน อุณหภูมิบ้านเราน่าจะเกิน 40 องศา แต่ที่แอฟริกาใต้กำลังย่างเข้าหน้าหนาว อุณหภูมิลดต่ำถึง 10 องศา นับเป็นช่วงเวลาแสนดีในการเตะฟุตบอลและท่องเที่ยว

แอฟริกาถือเป็นทวีปเก่า เป็นแหล่งเริ่มต้นของมนุษย์ ตั้งแต่มนุษย์วานรชื่อลูซี่อายุกว่า 3 ล้านปีที่ค้นพบในแอฟริกาตะวันอ อก ในแอฟริกาใต้ก็มีผู้คนอาศัยมาเนิ่นนาน จนถึงปัจจุบัน มีประชากร 45 ล้านคน แบ่งเป็นชาวแอฟริกาผิวดำมากกว่า 30 ล้านคน ชาวผิวขาว 5 ล้านคน ที่เหลือเป็นลูกครึ่งและชาวเอเชีย ชนพื้นเมืองกลุ่มใหญ่คือชาว Zulu และชาว Xhosa

ในศตวรรษที่ 16 แอฟริกาใต้เป็นเป้าหมายในการยึดครอง ของชาวดัตช์และชาวฝรั่งเศส จวบจนอังกฤษเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ขยายอาณาเขตออกไปจนมีอิทธิพลเหนือแอฟริกาใต้ทั้งหมด จนท้ายสุด แอฟริกาใต้กลายเป็นประเทศอิสระ แต่เกิดนโยบายเหยียดผิว จนถึงค.ศ.1990 การเมืองเปลี่ยนแปลง Nelson Mandela ผู้ถูกคุมขังถึง 27 ปีถูกปลดปล่อย นับแต่นั้น นโยบายเหยียดผิวจบสิ้น ถึงเวลาของประเทศที่ทุกคนเท่าเทียม กัน นับเป็นยุค New Era ทรัพยากรในประเทศที่มีมากมาย เช่น เพชร ตลอดจนอุตสาหกรรมนานารูปแบบ ทำให้แอฟริกาใต้กลายเป็นประเทศที่มีการ พัฒนาสูงสุดในทวีปแอฟริกา ทั้งในด้านสาธารณูปโภคและทั้งระบบ เศรษฐกิจ ประเทศนี้ใช้เงินสกุล RAN

ข้อมูลแบบตูม ๆ ที่ผมเล่ามา คงพอให้คุณเห็นภาพแบบคร่าว ๆ แต่เชื่อเถิด พอไปถึงเห็นจริงแล้ว คุณจะร้องเฮ้ย ผมเตรียมข้อมูลชุดนี้ตั้งแต่ก่อนไปทริปแรก เห็นแล้วเฮ้ยแล้ว กลับมาชวนผู้คนไปทริปสองทริปสาม ให้ข้อมูลเค้าอ่านล่วงหน้า ทุกคนก็อือออ พอไปเจอจริงก็เฮ้ยเหมือนกัน เพราะเราคงติดตากับภาพแอฟริกาที่ได้เห็น ทางทีวีหรือตามหนังสือ คิดถึงถนนฝุ่นเพียบ อากาศร้อน แดดแรง มีฝูงสัตว์ควบปุเลง ๆ บ้านช่องก็เป็นกระต๊อบของชาวพื้นเมือง ใครจะไปคิดถึงตึกระฟ้าสูงตระหง่าน ห้างสรรพสินค้าสุดหรูริมทะเล ถนนเรียบกริบกว้างสี่เลนแปดเลน รีสอร์ทห้าหกดาวในป่าหรือริมมหาสมุทร แต่นั่นแหละคือแอฟริกาใต้ หากสรุปภาพให้ชัดเจนที่สุด ประเทศนี้มีส่วนคล้ายออสเตรเลียนิวซีแลนด์ บวกกับเคนย่าแทนซาเนีย

การเตรียมตัวไปแอฟริกาใต้ไม่ยากเลย อันดับแรก คนไทยเข้าแอฟริกาใต้ได้โดยไม่ต้องใช้วีซ่า (เช็คข้อมูลอีกทีนะครับ) จากเมืองไทยมีเครื่องบินไป Johannesburg หรือ "โจ เบิร์ก" ตามที่นิยมเรียกกัน อาจต้องไปต่อเครื่องที่สิงคโปร์ มาเลเซีย หรือตะวันออกกลาง แต่เสียเวลาไม่นานหรอกครับ แถวนี้นับเป็นสนามแข่งหลักที่จะใช้ในฟุตบอลโลก มีทั้งสนามแข่งในเมือง Johannesburg ในเมือง Pretoria และในเมือง Rustenburg ทั้งสามเมืองอยู่ใกล้กัน ขับรถแค่ 2-3 ชั่วโมงก็ถึงแน่ ฟุตบอลโลกมีทั้งหมด 61 นัด แข่งที่ 3 เมืองนี้วนไปเวียนมาตั้ง 27 นัด อยากดูทีมไหนคงได้ดูแน่ แถมยังได้ดูไปจนถึงคู่ชิงชนะเลศที่จะแข่งใน Soccer City - Johannesburg นอกจากนี้ หากดูบอลเสร็จแล้วอยากดูสิงโตดูแรด แถวนี้มีอุทยานชั้นยอดชื่อ Pilanesberg แม้จะแจ๋วสู้อุทยานครูเกอร์ที่เป็นแหล่งซาฟารีระดับโลกทางตอน เหนือของประเทศไม่ได้ แต่ที่นี่ก็มีบิ๊กไฟว์ครบถ้วน

นอกจากโจเบิร์ก ยังมีอีกเมืองน่าสน ชื่อว่า Cape Town จากเมืองไทยบินไปไม่ยาก ผมเคยไปทั้งสายการบินสิงคโปร์และ สายการบินตะวันออกกลาง ช่วยประหยัดเวลาไปได้บ้าง เพราะจากโจเบิร์กไปเคปทาวน์ไม่ใช่ใกล้ ระยะทางตั้ง 1,260 กิโลเมตร ไกลกว่าเชียงใหม่ไปภูเก็ตอีกครับ (1,190 กิโลเมตร วัดทางตรง) บางคนจึงเที่ยวเฉพาะเคปทาวน์และชายฝั่งทะเลทางใต้ ไม่ได้เข้าไปข้องแวะกับโจเบิร์กหรือดินแดนทุ่งหญ้าตอนกลางและตอน เหนือ ทั้งเมือง Cape Town และเมือง Port Elizabeth เป็นสองเมืองหลักที่ใช้แข่งฟุตบอล แม้จะมีจำนวนนัดที่แข่งน้อยกว่า แต่ใครชอบอังกฤษ อย่างน้อยเราก็ได้ดู 1 นัดที่เคปทาวน์ อีก 1 นัดที่พอร์ตอลิซาเบธ ระหว่างนั้น จะขับรถไปตามเส้นทาง Garden Route ถนนเลียบมหาสมุทรสวยที่สุดสายหนึ่งของโลก ยาวกว่า 800 กิโลเมตร เชื่อมต่อทั้งสองเมือง ระหว่างทางมีสัตว์ป่าให้ดูพอประมาณ แต่มีสัตว์ทะเลเพียบ น่าเสียดายที่ฟุตบอลจัดในเดือนมิถุนายน ถ้าเป็นช่วงเดือนกันยายน ดอกไม้ป่าจะบานสะพรั่ง ฝูงวาฬยักษ์หลายร้อยตัวจะ อพยพเข้ามาหากินริมฝั่ง ใกล้จนสามารถเตะบอลให้วาฬโหม่งได้เลยครับ

สัปดาห์แรกเป็นแค่เกมส์อุ่นเครื่อง สัปดาห์หน้าถึงเวลาของจริงครับ

ไม่มีความคิดเห็น: