Google
 

04 เมษายน 2553

ดอยอ่างขาง ... ขึ้นดอย ตามรอยพ่อ ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

ดอย อ่างขาง ขึ้นดอย ตามรอยพ่อ ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

ในปี 2512 พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชืนีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์ พระที่นั่ง เพื่อทรงเยี่ยมชาวไทยภูเขาเผ่ามูเซอแดง ได้ทอดพระเนตรอ่างขางที่มีอากาศเย็น ชาวไทยภูเขายังปลูกฝิ่นกันทั้งด อยเพื่อเลี้ยงชีพ แต่ยังมีวิถีชีวิตที่แร้นแค้น ยากจน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรง พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนสองแสนบาท เพื่อซื้อที่ดิน สำหรับจัดตั้งสถานีวิจัยพืชเมืองหนาว เพื่อช่วยให้ชาวเขาหันมาปลูกพืชอย่าง อื่น และเลิกสูบฝิ่น แล้วพระราชทานชื่อว่า สวนสองแสน ปัจจุบันสถานีแห่งนี้ขยายพื้นที่ไป ถึง 350 ไร่ แนวเขาที่เคยแห้งแล้งจนเกือบเป็นเขา หัวโล้น ได้แปรเปลี่ยนกลายเป็นพื้นที่ป่าสีเขียวจนสุดสายตา และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ฮิตฮ๊อตในวันนี้

นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯให้ตั้ง โครงการหลวงขึ้นในปลายปี 2512 ตามแนวพระราชดำริ ช่วยชาวเขา ช่วยชาวเรา ช่วยชาวโลกโดย เลือก ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จัดตั้ง สถานีเกษตรหลวงอ่างขางขึ้น นับเป็นพื้นที่โครงการหลวงแห่งแรกของเมืองไทย จุดเริ่มต้นโครงการหลวงที่ยิ่งใหญ่ อันเป็นการเยียวยาและฉายความหวังให้ กับคนหลงทิศทางบนยอดดอย

หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ทรงเล่าประธานในวารสารสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ฉบับเดือนธันวาคม 2006 ว่า จุดกำเนิดของโครงการหลวงนั้นเริ่ม จากดอยที่เต็มไปด้วยฝิ่น เราไม่รู้ว่าจะสามารถปลูกอะไรได้นอกจากฝิ่น เราวิจัยและทดลองหลายอย่าง และด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว เราจึงได้นำผัก ผลไม้ต่างๆมากมาย เช่น สตรอเบอรี่ ลิ้นจี่ ไม้ผลต่างๆ และผักที่น่าสนใจมากมายเกือบ 100 ชนิดมาทดลองปลูก

จากนั้นโครงการหลวงอ่างขางก็พัฒนา มาอย่างต่อเนื่อง ผืนดินที่บอบช้ำที่เคยดูแลผู้คนมาจนเหนื่อยอ่อน จากเขาหัวโล้น ถูกพลิกฟื้น กลายเป็นแปลงพืชผักผลไม้เมืองหนาวที่อุดม สมบูรณ์ สวยงาม พืชพรรณนานาชนิดเติบโตในผืนดิน พลิกฟื้นลมหายใจของชาวบ้านของหุบดอยชายแดนไทย พม่า และท่ามกลางอากาศเย็นยะเยือก เมื่อพืชผักขึ้นงอกงาม ใครบางคนก็พบว่าดอยสูงแห่งนี้เปี่ยมความหมายของคำว่า บ้าน ไร่ฝิ่นหายไป ชาวเขามีงานทำ มีรายได้มากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดี แล้วตามมาด้วยเรื่องของการท่องเที่ยว ที่แห่งนี้จึงเป็นทางเดินใหม่ของชีวิต และได้รู้ว่าพระมหากรุณาธิคุณของกษัตริย์ไทยพระองค์หนึ่งนั้นยิ่ง ใหญ่เพียงไร

ปัจจุบันมีหมู่บ้านชาวเขารอบ สถานีเป็นเขตส่งเสริมและพัฒนาอาชีพรวม 9 หมู่บ้าน ประชากรรวมประมาณ 7 พันคน

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง มีสภาพภูมิประเทศสวยงาม และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าม้ อากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี อุณหภูมิเฉลี่ย 17 องศา แต่อาจจะลงมาติดลบได้ในช่วงเดือนมกราคม

อ่างขางในวันที่เราไปเยือน อากาศหนาวมาก ละอองหมอกโปรยปรายอยู่ทั่วไปในอากาศ ... หนาว แต่ก็งดงามและโรแมนติก โดยเฉพาะที่ สถานีเกษตรหลวงอ่างขางรถของเราเข้าไปจอดที่ สวนท้อ เป็นแห่งแรกค่ะ น้ำค้างยังไม่เหือดหายไปจากกลีบดอกของต้นไม้ที่นี่ นักถ่ายรูปหลายคนพบตัวเองอยู่ในโลกของมาโคร ขณะที่ใครอีกหลายคนพบว่าโล กกลางหุบเขานั้นน่าหลงไหลเพียงไร

ฉัน ชอบเส้นสายของกิ่งก้านต้นท้อนี่จังเลยค่ะ ดูไปเหมือนบอนไซต้นโตๆ ยามที่ดอกบานสะพรั่งบนกิ่งก้านสวยมาก แม้ดอกจะเล็กกว่าดอกไม้ชนิดอื่นๆ

เรือนเพาะชำดอกไม้เมืองหนาว ภายในโรงเรือนร่มรื่น สวยด้วยการจัดแต่งภูมิทัศน์อย่างงดงามลงตัว มีน้ำตกเล็กๆไหลรินลงมาจากภูเขาจำลอง ให้ความชุ่มชื้นในพื้นที่ ท่ามกลางดงดอกไม้หลากหลายสายพันธุ์ ที่ปลูกสลับกันอย่างลงตัว บานสะพรั่ง แย้มกลีบดอกราวกับจะเชื้อเชิญให้นักท่องเที่ยวเข้าไปใกล้ ชื่นชมความงาม จนลืมโลกภายนอกไปหมดสิ้น

ดอกไม้ที่จัดแสดงเป็นกลุ่มๆ เช่นกลุ่มกล้วยไม้ที่มีหลากหลายสายพันธุ์มาก เช่น ซิมบิเดียม และรองเท้านารีหลายชนิด ต้องยอมรับว่า กล้วยไม้ที่นี่ดูจะเจริญงอกงาม สมบุรณ์ทั้งลำต้นและดอก กลีบบานแข็ง ช่อดอกงดงาม ยากที่จะเห็นได้ ณ ที่อื่นๆ จึงเก็บรูปมาฝากได้มากมาย

กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับตามฤดูกาล อื่นๆ ไม้ดอกกระถาง ก็น่าสนใจที่ดอกค่อนข้างโต สีสันสดใสกว่าดอกไม้ชนิดเดียวกันที่ปลูกที่อื่นๆ เช่น กลุ่ม ไม้กินแมลง กลุ่มบีโกเนีย และโคมญี่ปุ่น มีมุมนั่งเล่นเป็นระยะๆ รวมถึงมีร้านขายผลิตภัณฑ์จาก สถานีฯและมีร้านกาแฟดอยคำ ให้คุณได้ดื่มด่ำกับกาแฟเมล็ดพันธุ์อาราบิกา คั่วหอม เคล้ำกับเสียงเพลงเบาๆ ที่จะทำให้โลกกลางขุนเขาน่ารื่นรมย์ ขึ้นอีกอักโข

ใกล้ๆกันเป็นที่ตั้งของ สวนสมเด็จ สวนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงใช้ประทับพักผ่อนพระอิริยาบถ ที่เป็นสวนเล่นระดับตามสภาพพื้นที่ที่ เป็นเนินเขา พรรณไม้เด่น มีแปลงกุหลาบหลากสี หลายพันธุ์ เป็นตัวชูโรง บางดอกบานใหญ่จนสะดุดตาและเลนส์กล้อง ยั่วยวนให้กดชัตเตอร์นำมาฝากกันที่งดงาม สวยโดดเด่นไม่แพ้กัน คือ ดอกป๊อปปี้หลายสีที่มีแมลงจำพวกผึ้งบินมาดมดอม และที่กลางลาน สวยด้วยโครงไม้ในรูปแบบแปลกตา โดยมีต้นไม้ดอกอยู่ตรงแกนกลาง

หัวมุมมีต้นดอกซากุระดอย หรือต้นนางพญาเสือโคร่งที่เบ่งบานเต็มที่ จนฉันต้องสาวเท้าเร็วๆเข้าไปยืนใต้ต้น แล้วกดชัตเตอร์เก็บภาพชนิดไม่ต้องยั้ง มือกันทีเดียวค่ะ รู้สึกโชคดีมากที่ได้มาเจอซากุระดอยที่บานพร่างพรู เช่นนี้ หลายปีที่ผ่านมาไม่เห็นว่าจะสวยงามเท่าครั้งนี้มาก่อนค่ะ

ถัดจาก 2 อาคารนี้ไป ถนนแยกออกไปเป็น 2 สาย ทางซ้ายเป็นแปลงไม้ผลเมืองหนาว เช่น สาลี่ บ๊วย กีวี พลัม พีช ส่วนทางขวาเป็น สวนบอนไซ สวยงาม และโดมไม้แล้งให้ได้ยล และชื่นชมกัน ฉันมีเวลาจำกัดเลยแค่ลงจากรถ มาถ่ายรูปดอกบ๊วยดอกใหญ่ๆ สีสวยมากมาฝากกันค่ะ

บนถนนสายนี้เป็นที่ตั้งของ แปลง ส่งเสริมการปลูกสตรอเบอรี่ ด้วยค่ะ ... เราได้รับการบอกเล่าว่าเป็นพันธุ์ พระราชทาน 80 พันธุ์ ใหม่ล่าสุดที่ทีมงานวิจัยเพิ่งจะประสบผลสำเร็จเมื่อปี 2550 หลังจากทำการวิจัยอย่างยาวนานกว่า 6 ปี

สตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 80 เป็นสายพันธุ์ที่มีคุณภาพดีที่สุดในเวลานี้ จุดเด่นอยู่ที่ลำต้นใหญ่ แข็งแรง ให้ผลดก ลูกใหญ่หวาน มีกลิ่นหอม ไม่ช้ำง่าย ทนต่อการขนส่ง และเก็บไว้ได้นานถึง 30 วัน รวมถึงเป็นพันธุ์ที่ต้านทาน โรคและแมลง ก่อนหน้านี้มีการปรับปรุงพัฒนา พันธุ์ เริ่มตั้งแต่พันธุ์พระราชทาน 50 70 และ 72 … ซึ่งที่มาของชื่อเหล่านี้ คือ ตัวเลขพระพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปรับปรุงพันธุ์สตรอเบอรี่ได้ ในปีนั้นๆ

ภาพด้านล่างเป็นภาพพระบรมวงศา นุวงศ์ไทยในแปลงสตรอเบอรี่ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง และภาพสมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก และ สมเด็จพระราชินีเชอร์ริง ยางดน วังชุก เสด็จพร้อมด้วย เจ้าหญิงเดเชน ยางซอม แห่งราชอาณาจักรภูฏาน เสด็จทอดพระเนตรแปลงผลิตสตรอเบอรี่พันธุ์พระราช ทาน 72 ของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ทรงสนพระทัยในเรื่องการพัฒนาพันธุ์สตรอเบอรี่ รวมทั้งวิธีการผลิตโดยปราศจากสารเคมี และทรงเก็บผลสตรอเบอรี่จาก แปลงเสวย

(ขอบคุณภาพ ประกอบจาก http://www.oknation.net/blog/tewson/2009/02/13/entry-1)

จากนั้นถนนทั้งสองสายมาบรรจบกันที่ สโมสรอ่างขาง ที่มีสวนหลากรูปแบบให้ได้ชื่นชมกัน เช่น สวนรับเสด็จ ที่ มีการจัดแต่งไม้ดอก ไม้ใบอย่างกลมกลืนไปตามไหล่เขา สวนหอม พื่นที่เล็กๆที่อบอวลไปด้วยกลิ่นหอมของพรรณไม้ที่ล้วนแต่มีใบ หรือไม่ก็ดอกที่มีกลิ่นหอมหลายชนิด เช่น ลาเวนเดอร์ดอกสีม่วงให้กลิ่นหอม สดชื่นคล้ายสมุนไพร ลาเวนดริน ดอกคาร์โมไมล์ ที่กลิ่นหอมจะติดปลายนิ้วแค่เพียงแตะเบาๆที่กลางดอก หอมหมื่นลี้ มะลิเลื้อย นาสเตอร์เดียม เจอราเนียม หญ้าหอม และแมกโนเลีย เป็นต้น

สวนกุหลาบอังกฤษ ที่รวบรวมกุหลาบสายพันธุ์จากอังกฤษไว้มากมายถึง 240 ชนิด ที่ว่ากันว่าในช่วงเดือนเมษายน กุหลาบอังกฤษดอกใหญ่ สีสด จะออกดอกบานสะพรั่งมากที่สุด แต่ช่วงที่เราไปเยือน กุหลาบออกดอกน้อยมาก

ปัจจุบันโครงการหลวงได้ส่งเสริมให้ เกษตรกรเผ่านอแล (ปะ หร่อง) ปลูกกุหลาบ โดยปลูกในระบบโรงเรือน ด้วยกุหลาบเป็นต้นไม้ที่ต้องการการดูแล ใส่ใจเป็นพิเศษ แต่ผลตอบแทนคุ้มค่าทีเดียวค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น: