Google
 

04 เมษายน 2553

ระวัง! 15 อาหารใกล้ตัว : ไม่ให้ประโยชน์ ยังอาจแถมโทษตามมา

ระวัง! 15 อาหารใกล้ตัว : ไม่ให้ประโยชน์ ยังอาจแถมโทษตามมา

มีเกร็ด ต่างๆ มาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับอาหารใกล้ตัวเราทุกวันนี้ ที่ล้วนแต่มีประโยชน์น้อย แถมมีโทษ.. ถ้าเจอแจ๊ตพอต อาจป่วย ไม่คุ้มกัน
หากยังใส่ใจกับสุขภาพของตัวคุณเอง ก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะผลที่ตามมานั้นอันตรายเกินกว่าที่หลายคนจะระวังตัวเลยทีเดียว

ภาพ จากฟอร์เวิร์ดเมล์

1. ขนมปัง ปี๊บ
วางขายทั่วไปตั้งแต่ร้าน โชห่วยจนถึงซูเปอร์สโตร์เลยทีเดียว หลายคนชะล่าใจว่าวางขายในห้างแล้วจะ ปลอดภัยกว่าร้านขายของชำ จะบอกว่าวางขายที่ไหนก็ไม่ปลอดภัยทั้ง นั้น เพราะกระบวนการผลิตขนมปังบรรจุปี๊บบางแห่งไม่มีคุณภาพ แถมบางรสอย่างเช่น ไส้สับปะรด แท้จริงแล้วผู้ผลิตบางเจ้าใช้มันแกวหรือ พืชอื่นๆ กวนใส่น้ำตาลแทนสัปปะรดจริง แล้วใส่กลิ่นกับแกนสัปปะรดไปนิดหน่อย เพื่อลดต้นทุนอย่างน่าเกลียด
2. เชอรี่บนขนมเค้กราคาถูกตามตลาดสด
เชอรี่สีแดงสีเขียว วางประดับเหนือครีมสีขาวบนขนมเค้ก เราเห็นทั่วไปตั้งแต่ร้านเบเกอรี่จนถึงร้านขายของชำที่ชอบรับมา ขายจากแหล่ง ที่บางครั้งก็ไม่ระบุที่มา หากเป็นเชอรี่เชื่อมของจริงผล จะมีสีแดงเข้ม รสชาดหวานอมเปรี้ยวจากผลไม้แท้ๆ แต่บางเจ้ากลับนำมะเขือเปาะ ฟอกสีจนใสเป็นวุ้น แล้วย้อมสีแดง ซึ่งก็คือผงฟอกสีทำให้เกิดภาวะเสื่อม ในไต
ขนมหวานของหวานบางอย่างที่ไม่น่าเชื่อ ว่ายังจะใช้สารฟอกสีไปทำไม แต่ก็ใช้ไปแล้ว ก็อย่างเช่น มะม่วงกวน (แผ่นใสๆ) หรือยอดมะพร้าวขาวๆ ฉะนั้นต้องดูให้ดี

ภาพ จากฟอร์เวิร์ดเมล์

3. ซูชิใน ตลาดนัด
อาหารพื้นๆ สัญชาติญี่ปุ่น แต่ดันมาขายดิบขายดีในเมืองไทย และเมื่อแพร่ขยายมาถึงตลาดนัด ซึ่งผู้ขายจะนำมาจากแหล่งผลิตใด วัตถุดิบคืออะไร ก็ไม่มีใครทราบ แต่พอถึงเวลาขายก็เอาออกจากกล่องพลาสติก มาวางกลางอากาศร้อนๆ แถมในตลาดนัดรู้กันอยู่ว่าเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค เมื่อของสดบวกกับความร้อนและเชื้อแบคทีเรียในอากาศ ผู้ที่ซื้อไปรับประทานก็จะมีอาการท้องร่วงท้องเสียตามมา
4. เอแคลร์-ลูกชุบ
หรือขนม อะไรที่ต้องมีการปั้นๆ ถูๆ ต้องพึงระวังสุขอนามัย รวมถึงสีที่ใช้ซึ่งหลายเจ้าไม่ได้ใช้สีผสมอาหาร ใครทานเข้าไปก็เตรียมใจรับสารตะกั่ว ควรซื้อกับร้านค้าที่รู้จักหรือมี ชื่อเสียงเท่านั้น
5. ลูกอมสีประหลาด
ขึ้น ชื่อว่าลูกอมก็ไม่ใช่ของที่น่ารับประทาน เพราะรู้กันมาตั้งแต่เด็กๆ ว่าทานมากก็ทำให้ฟันผุและมีน้ำตาลสูง แต่ถ้าเจอลูกอมสีแปลกๆ เช่น ฟ้า เขียว ม่วง สีจัดๆ สีเหล่านี้พ่อค้าแม่ค้าชอบนำมาขายเพราะเก็บไว้นาน สีไม่ซีด แต่อันตรายจากสีในลูกอมนั้นเต็มไปด้วยสารตะกั่วและโลหะหนัก ....แต่ทางที่ดีที่สุด หลีกเลี่ยงลูกอมทุกสี ทุกรส เพือ่สุขภาพที่ดีของปากและฟันเป็นดีที่สุด
6. อาหารทะเลปลายฤดูร้อน
ผู้หลัก ผู้ใหญ่เคยบอกไว้ว่าช่วงปลายหน้าร้อนเข้าหน้าฝนอย่าหาของทะเลกิน ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะสภาพอากาศที่มีฝนแรกตกชะฝุ่นบนพื้นดินลง ทะเล ซึ่งสัตว์ทะเลจะกินฝุ่นดินนี้เข้าไป ก็จะทำให้มีเชื้อไวรัส แบคทีเรีย มากกว่าปากติ ฉะนั้นโอกาสท้องเสียจึงมีสูง หากจะทานก็ควรล้างน้ำเกลือให้สะอาด เพื่อชะล้างฝุ่นดินโคลนออกเสีย
7.อาหารสำเร็จรูปไมโครเวฟ
อาหาร แพ็คสำเร็จรูปเดี๋ยวนี้มีวางขายหลากหลายยี่ห้อ ตอบสนองพฤติกรรมการกินของคนรุ่นใหม่ที่รีบเร่งและเน้นสะดวก หลายคนยังมีแก่ใจห่วงใยสิ่งแวดล้อม ยอมเอาบรรจุภัณฑ์พลาสติกใส่อาหาร ล้างสะอาดเก็บไว้ใช้ต่อ แต่พลาสติกชนิดนี้ไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนำกลับเข้าไมโครเวฟมากกว่า 1 ครั้ง เพราะเคมีในพลาสติกจะซึมสลายปะปนกับอาหาร สะสมในร่างกาย
8. โยเกิร์ต ตามซูเปอร์มาร์เก็ต
จะมา เดี่ยวๆ หรือมาเป็นแพ็ค แต่สังเกตกันบ้างหรือไม่ว่าโยเกิร์ตสมัยนี้ ทำไมจึงผลิตออกมาได้มากมาย หลายรส หลายกลิ่น และทำไมหลายคนกินแล้วมีแต่อ้วนขึ้น! ก็เพราะผู้ผลิตบางเจ้าเติมแป้งลง ไปเพื่อให้ได้ปริมาณและความข้น ขณะที่ผลไม้เชื่อมที่ใช้ก็ถูกสลาย เกลือแร่และวิตามินซีไปนานแล้ว สิ่งที่ได้คือแป้งแต่งกลิ่นนม เปรี้ยว เติมสีและรสสังเคราะห์ ทำให้โยเกิร์ตมีราคาถูกนั่นเอง วิธีทดสอบง่ายๆ ลองหยดทิงเจอร์ไอโอดีนตามการทดลองวิทยาศาสตร์ตอนเด็กๆ ดู หากเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน แปลว่าคุณเจอโยเกิร์ตแป้งเข้าแล้ว
การทานโยเกิร์ตให้ได้รับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จากนม จึงควรเลือกแบบโฮมเมด มีรสและกลิ่นตามธรรมชาติของนม และรสธรรมชาติทานคู่กับผลไม้สด เมล็ดธัญญาหาร หรือน้ำผึ้ง จะได้รับประโยชน์เต็มๆ กว่า
9. น้ำปลาเปิดขวดแล้ว
ควรมี อายุการใช้ไม่เกิน 1 เดือน เพื่อป้องกันการวางไข่ของแมลงวัน และเชื้อโรคตามอากาศที่ปะปนอยู่ใน ขวด
10. ขวดซอส มะเขือเทศ ซอสพริก ที่เปิดใช้แล้ว
แม้จะ เก็บไว้อย่างดีในตู้เย็น แต่หากเปิดใช้เหลือเกินกว่าวันที่ฉลากระบุ ก็ต้องจัดการทิ้งถังขยะ เพราะเชื้อราตามคอขวดซอสเหล่านี้ เติบโตเร็ว
11. กระดาษหนังสือพิมพ์
แม้จะมี การลดจำนวนการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ในการห่ออาหาร แต่บางครั้งเราก็ยังเห็นแม่ค้านำมาห่อผักสด เข่งปลา วางจำหน่ายอยู่ทั่วไป สารพิษจากหมึกจะปนเปื้อนในอาหารได้ ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะนำไปห่อผักแช่ตู้เย็น
12. อาหารกระป๋อง
ถ้าใช้ ไม่หมดควรเอาออกจากกระป๋องใส่ภาชนะอื่นแช่ตู้เย็น เพราะอากาศจะเร่งปฏิกิริยาให้อาหารปนเปื้อนสารจากกระป๋องได้ง่าย
13. ฟองน้ำล้างจาน
ตามท่อ หรืออ่างล้างจาน เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ในฟองน้ำล้างจานก็เช่นกัน หากนำกลับมาใช้ซ้ำหลายๆ ครั้ง แบคทีเรียที่มีน้ำยาผสมน้ำทิ้งไว้จึงไม่ ควรทิ้งไว้นานเกิน 1 ชั่วโมง หากต้องการกำจัดเบื้องต้น ก็มีเคล็ดลับง่ายๆ โดยนำฟองน้ำล้างจานไปแช่ในน้ำส้มสายชู แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น ก็จะช่วยลดจำนวนแบคทีเรียที่อาจปะปนกับจานชามของเราได้ส่วน หนึ่ง....น่ากลัว จริงๆ นะ
14. อาหารหมักดอง
ใครที่ ชอบทานอาหารหมักดองเป็นประจำต้องระวังให้ดี เชื้อไวรัสในอาหารหมักดองมีฤทธิ์มากพอที่จะทำลายกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะอาหารหมักดองที่ขายตามตลาด เช่น ผักกาดดองในกะละมังโรงงานบางแห่งจะมีกระบวนการผลิตที่ไม่สะอาด (โดยใช้คนลงไปนวดผักในอ่างดอง โดยที่เราไม่แน่ใจว่าคนนั้นๆ มีโรคติดต่อหรือไม่) หากจะนำผักกาดดองไปปรุงอาหาร ควรเลือกผักกาดดองกระป๋อง หรือบรรจุซองที่ซีลแน่นหนา สะอาด ไม่รั่ว ไม่บุบ ไม่แตก
15. เบียร์สด
บางคน อาจคิดไม่ถึง แต่เบียร์สดจะมีกรรมวิธีการผลิตแตกต่างจากเบียร์บรรจุขวด นั่นก็คือเบียร์สดจะไม่ถูกกรองยีสต์ที่ตายแล้ว ก็อาจจะทำให้ได้รับซากยีสต์จากการดื่มด้วย ซึ่งต้องระมัดระวังหากใครมีปัญหาเรื่องภูมิต้านทานแบคทีเรีย
เรื่องจาก : ฟอร์เวิร์ดเมล์

ไม่มีความคิดเห็น: